Page 251 -
P. 251
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ใบข้าวอยู่ที่คลอโรพลาสต์ อันเป็นออร์แกเนลล์ซึ่งท�าหน้าที่ในการสร้างมวลชีวภาพด้วยการสังเคราะห์แสง
ไนโตรเจนมีบทบาทในแต่ละระยะการเติบโตดังนี้
1) ระยะการเติบโตไม่อาศัยเพศ: ช่วยในการเติบโตของใบและแขนง
2) ระยะเจริญพันธุ์: ช่วยในการเติบโตของดอก ดังนั้นจ�านวนดอกซึ่งจะพัฒนาไปเป็นเมล็ด
จึงขึ้นอยู่กับความเพียงพอของไนโตรเจนที่ข้าวได้รับ และ
3) ระยะเติมเต็มเมล็ด: ช่วยสร้างโปรตีนและเพิ่มน�้าหนักเมล็ด
กล่าวโดยรวมถึงบทบาทของไนโตรเจนตลอดวงจรชีวิตของข้าว คือ ช่วยเพิ่มความสูง จ�านวน
รวง ขนาดใบ จ�านวนดอกย่อย จ�านวนเมล็ดเต็ม และเป็นธาตุที่ก�าหนดศักย์ผลผลิตของข้าว
4.2 บทบาทของไนโตรเจนต่อการเติบโตไม่อาศัยเพศ
ไนโตรเจนมีบทบาทในการส่งเสริมการเติบโตของราก ความสูงของล�าต้น และการแตกกอ
1) ไนโตรเจนกับการเติบโตของราก ไนโตรเจนช่วยเพิ่มการเติบโตของราก ท�าให้ศักยภาพ
ของรากในการดูดน�้าและธาตุอาหารสูงขึ้น ผลการเปรียบเทียบระหว่างต�ารับควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน)
กับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 300 มิลลิกรัม N/ดิน 1 กิโลกรัม ช่วยให้ข้าว 20 พันธุ์ที่ทดลองมีความยาว
ของรากเพิ่มจาก 30.49 ซม. เป็น 31.99 ซม. หรือรากยาวขึ้น 1.5 ซม. และน�้าหนักแห้งของรากเพิ่ม
จาก 1.37 กรัมต่อต้น เป็น 2.72 กรัมต่อต้น ทั้งนี้เนื่องจากจ�านวนรากแขนงของข้าวที่ได้รับไนโตรเจน
อย่างเพียงพอ มีจ�านวนมากกว่าข้าวที่ปลูกโดยไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อย่างไรก็ตาม การขาดไนโตรเจน
อาจท�าให้รากข้าวบางพันธุ์ยาวขึ้นกว่าสภาพที่มีไนโตรเจนเพียงพอก็ได้ เนื่องจากข้าวพันธุ์นั้นปรับตัว
เพื่อแสวงหาธาตุอาหารในดินระดับลึกกว่าเดิม
2) ไนโตรเจนกับความสูงของล�าต้น การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนช่วยให้ต้นข้าวสูงขึ้น การใช้ปุ๋ยอัตรา
0, 8, 16 และ 24 กก.N/ไร่ ท�าให้ต้นข้าวมีความสูง 102.19, 104.69, 107.97 และ 113.06 ซม.
ตามล�าดับ หรือความสูงเพิ่มขึ้น 2-3 ซม ต่อการเพิ่มอัตราปุ๋ยแต่ละระดับ
3) ไนโตรเจนกับการแตกหน่อหรือแตกแขนง ไนโตรเจนช่วยเพิ่มการการแตกแขนงอย่างเด่นชัด
การเพิ่มอัตราปุ๋ยไนโตรเจนจาก 0 ขั้นละ 4.8 กก.N/ไร่ จนถึง 24 กก.N/ไร่ แล้วนับจ�านวนแขนงต่อ
ตารางเมตร ตั้งแต่เริ่มแตกหน่อ (อายุ 22 วัน) แตกหน่อรวดเร็ว (อายุ 35 วัน) ก่อก�าเนิดช่อดอกอ่อน
(อายุ 71 วัน) ตั้งทัอง (อายุ 97 วัน) ออกดอก (อายุ 112 วัน) และสุกแก่ (อายุ 140 วัน) พบว่าทุกครั้งที่
นับจ�านวนแขนงต่อตารางเมตร การเพิ่มอัตราปุ๋ยไนโตรเจนแต่ละระดับ ช่วยให้จ�านวนแขนงเพิ่มขึ้นตามล�าดับ
เช่นเดียวกัน จ�านวนล�าต้นในวันสุกแก่จากแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ยนับได้ 468 ต้นต่อตารางเมตร เมื่อใช้ปุ๋ยอัตรา
4.8, 9.6, 14.4, 19.2 และ 24 กก.N/ไร่ นับได้ 495, 531, 532, 569 และ 592 ต้นต่อตารางเมตร
4.3 บทบาทของไนโตรเจนต่อการเติบโตในระยะเจริญพันธุ์
นอกจากปุ๋ยไนโตรเจนจะเพิ่มจ�านวนแขนงหรือจ�านวนต้นต่อกอแล้ว ยังท�าให้จ�านวนรวงต่อกอ
และความยาวรวงเพิ่มขึ้นด้วย ผลการเปรียบเทียบระหว่างต�ารับควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน) กับการใส่
ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 400 มิลลิกรัม N/ดิน 1 กิโลกรัม ช่วยให้ข้าวไร่ 20 พันธุ์ที่ทดลองมีความหนาแน่น
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว ไนโตรเจนของข้าว 247