Page 247 -
P. 247
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.1 ดินเป็นแหล่งส�าคัญของไนโตรเจนส�าหรับพืช
แม้ว่าอากาศมีไนโตรเจน (N ) ประมาณ 78 % แต่พืชโดยทั่วไปน�ามาใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย ส�าหรับ
2
ดินมีสารประกอบของไนโตรเจนอยู่ 2 ส่วน คือ 1) สารอินทรีย์และ 2) เกลือชนิดต่างๆ อันเป็นสารอนินทรีย์
ประมาณ 95 % ของไนโตรเจนในดินเป็นสารอินทรีย์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของอินทรียวัตถุในดิน ไนโตรเจน
ส่วนที่เป็นเกลือซึ่งละลายง่ายมีน้อย อินทรียวัตถุจึงเป็นแหล่งส�าคัญของธาตุไนโตรเจนส�าหรับพืช
2.2 สารประกอบไนโตรเจนในดินนาน�้าขัง
สารประกอบของไนโตรเจนในดินนาน�้าขังมีอยู่ 2 ประเภทคือ สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์
1) สารอินทรีย์ไนโตรเจน มีอยู่ในอินทรียวัตถุของดิน ไนโตรเจนส่วนนี้เป็นประโยชน์ต่อพืช
อย่างช้าๆ โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินต่อไปนี้
(1) สารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจนโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน ถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายให้มี
โมเลกุลเล็กลง เช่น กรดอะมิโนและอะมีน
(2) กรดอะมิโนและสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจนโมเลกุลเล็กอื่นๆ ถูกจุลินทรีย์ดินแปรสภาพ
ต่อไปเป็นแอมโมเนียมไอออน (NH ) การเปลี่ยนแปลงจากสารประกอบอินทรีย์ (กรดอะมิโนหรืออะมีน)
+
4
มาเป็นสารประกอบอนินทรีย์ (แอมโมเนียและแอมโมเนียมไอออน) เรียกว่ากระบวนการมินเนอราลไลเซชัน
(mineralization)
(3) แอมโมเนียมไอออนในชั้นดินออกซิไดส์ (oxidized layer) ของดินนาน�้าขังหรือบริเวณ
ไรโซสะเฟียร์ (rhizosphere) ซึ่งมีออกซิเจนเพียงพอ จะมีการเปลี่ยนแปลงจากแอมโมเนียมไอออนเป็น
ไนไทรต์ไอออน (NO ) และไนเทรตไอออน (NO ) ตามล�าดับ โดยกระบวนการออกซิเดชันโดยกิจกรรม
-
-
2 3
ของจุลินทรีย์ดิน ซึ่งเรียกว่ากระบวนการไนทริฟิเคชัน (nitrification) แต่ในชั้นดินซึ่งขาดออกซิเจน คือ
ชั้นรีดิวซ์ (reduced layer) การเปลี่ยนแปลงจะหยุดเพียงขั้นตอนแรกที่ได้แอมโมเนียมไอออนเท่านั้น
2) สารอนินทรีย์ไนโตรเจน ในดินนาที่ส�าคัญ คือ
(1) แอมโมเนียมไอออน ซึ่งส่วนมากดูดซับอยู่กับอนุภาคดินเหนียวและฮิวมัส ที่อยู่ใน
สารละลายของดินมีเพียงเล็กน้อย แอมโมเนียมไอออนทั้งสองส่วนนี้เป็นประโยชน์ต่อข้าว อย่างไรก็ตาม
แอมโมเนียมไอออนบางส่วน ถูกตรึงไว้ในหลืบของแร่ดินเหนียวบางชนิด และไม่เป็นประโยชน์ต่อข้าว
นอกจากนั้นแอมโมเนียมไอออนบางส่วน ถูกจุลินทรีย์ดินดูดไปใช้แล้วอยู่ในเซลล์ของจุลินทรีย์ ซึ่งจะ
ปลดปล่อยออกมาสู่ดินอีกครั้งหนึ่ง เมื่อจุลินทรีย์ตายและสลายตัว การที่จุลินทรีย์ดูดแล้วแปรสภาพ
สารประกอบอนินทรีย์ที่ดูดได้ (แอมโมเนียมไอออน) ไปเป็นสารประกอบอินทรีย์ภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต
เรียกว่า กระบวนการอิมโมบิไลเซชัน (immobilization)
(2) ไนเทรตไอออนในดินนาชั้นออกซิไดส์ (oxidized layer) เป็นประโยชน์ต่อข้าวและ
จุลินทรีย์ หากไนเทรตไอออนเคลื่อนย้ายลงมายังชั้นรีดิวซ์ซึ่งขาดออกซิเจน (anaerobic) ไนเทรตจะถูก
รีดิวซ์ให้กลายเป็นแก๊ส (NO, N O, N ) โดยกระบวนการดีไนทริฟิเคชัน (denitrification) แล้วระเหยไป
2 2
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว ไนโตรเจนของข้าว 243