Page 252 -
P. 252

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






          ของรวง (panicle density) เพิ่มจาก 7.9 เป็น 21.4 รวงต่อกระถาง (4 ต้น) และความยาวรวงเพิ่มขึ้น
          จาก 17.7 ซม. เป็น 22.0 ซม. ในด้านความหนาแน่นรวงในข้าวนาน�้าขังนั้น ผลการเปรียบเทียบระหว่าง

          ต�ารับควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน) กับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 300 มิลลิกรัม N/ดิน 1 กิโลกรัม พบว่า
          ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราดังกล่าวช่วยให้ข้าวนาน�้าขัง 12 พันธุ์ที่ทดลอง มีความหนาแน่นของรวงเพิ่มจาก 6.58
          เป็น 12.85 รวงต่อกอ
                                                                                             5

                                        อาการขาดไนโตรเจนของข้าว






                   เนื่องจากการขาดไนโตรเจนเป็นเรื่องแรกในบรรดาธาตุอาหารที่จะกล่าวถึงทั้งหมด จึงขออธิบาย
          ภาพรวมของอาการขาดธาตุอาหารที่ใบก่อน จากนั้นจึงอธิบายอาการขาดไนโตรเจนของข้าว
               5.1 อาการขาดธาตุอาหารที่ใบ

                   เมื่อพืชขาดธาตุอาหารอย่างรุนแรง  อาการขาดธาตุอาหารของพืชอาจปรากฏทั้งส่วนเหนือดิน
          และราก  แต่อาการในระยะแรกที่ปรากฏว่าขาดมักแสดงชัดเจนที่ใบ  อาจแบ่งต�าแหน่งของใบพืชที่แสดง

          อาการขาดธาตุอาหารตามสภาพการเคลื่อนย้าย  (mobility)  ของธาตุในโฟลเอ็มหรือท่อล�าเลียงอาหาร
          เป็น 2 แบบ คือ ธาตุอาหารที่เคลื่อนย้ายทางโฟลเอ็มง่าย แสดงอาการที่ใบแก่ ส่วนธาตุอาหารที่เคลื่อน
          ย้ายทางโฟลเอ็มยาก แสดงอาการที่ใบอ่อน (ยงยุทธ, 2558; Podar, 2013) ดังนี้

                   1) แสดงอาการที่ใบแก่  ได้แก่  อาการขาดธาตุไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  โพแทสเซียม  และ
          แมกนีเซียม  เนื่องจากธาตุเหล่านี้เคลื่อนย้ายทางโฟลเอ็มหรือท่อล�าเลียงอาหารได้ง่าย  เมื่อพืชได้รับธาตุ

          ดังกล่าวจากดินไม่เพียงพอ  สารประกอบของธาตุนั้นก็สลายตัวให้มีโมเลกุลเล็กลง  แล้วเคลื่อนย้ายทาง
          โฟลเอ็มไปเลี้ยงใบอ่อน  ส�าหรับโพแทสเซียมในเซลล์พืชนั้น  ส่วนมากอยู่ในสภาพไอออน  จึงเคลื่อนย้าย
          ได้ง่าย

                   2) แสดงอาการที่ใบอ่อน ได้แก่ อาการขาดธาตุแคลเซียม  ก�ามะถัน  และจุลธาตุส่วนมาก เช่น
          เหล็ก  เนื่องจากธาตุดังกล่าวเคลื่อนย้ายทางโฟลเอ็มได้ยาก  หากใบยังอยู่ในช่วงอายุปรกติ  ธาตุเหล่านั้น

          ก็คงเป็นสารประกอบอยู่ในใบเดิมต่อไป  แม้พืชจะได้รับธาตุนั้นจากดินไม่เพียงพอ  ก็ไม่ยอมสลายตัวและ
          เคลื่อนย้ายไปช่วยใบอ่อน อาการขาดจึงปรากฏอย่างชัดเจนที่ใบอ่อน หรือใบที่เพิ่งแตกใหม่ เช่น ใบอ่อน
          ของข้าวที่ขาดธาตุเหล็กมีสีเหลืองทั่วทั้งใบ

               5.2 อาการขาดธาตุไนโตรเจน
                   เนื่องจากไนโตรเจนเคลื่อนย้ายทางโฟลเอ็มได้ง่าย  เมื่อพืชได้รับไนโตรเจนจากดินไม่เพียงพอ

          สารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจนในเซลล์ใบที่มีโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีนและคลอโรฟิลล์ก็สลายตัวให้มีโมเลกุล
          เล็กลง  แล้วเคลื่อนย้ายทางโฟลเอ็มไปเลี้ยงใบอ่อน  อาการขาดไนโตรเจนของข้าวมีดังนี้ คือ ล�าต้นแกร็น




          248 ไนโตรเจนของข้าว                                        ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   247   248   249   250   251   252   253   254   255   256   257