Page 250 -
P. 250

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                   2) เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลคลอโรฟิลล์  โดยคลอโรฟิลล์  1  โมเลกุล  มี  N  4  อะตอม
          และ  Mg  1  อะตอม  ไนโตรเจนและแมกนีเซียมจึงมีบทบาทส�าคัญของการสังเคราะห์แสง  ในฐานะที่พืช

          เป็นผู้ผลิตปฐมภูมิของระบบนิเวศ  คลอโรฟิลล์ในใบพืชท�าหน้ารับโฟตอนจากแสงอาทิตย์  และเปลี่ยน
          พลังงานในโฟตอนให้เป็นพลังงานการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน  ภายในและระหว่างโมเลกุลของคลอโรฟิลล์

          ในระบบแสงของกระบวนการสังเคราะแสง  แล้วน�าพลังงานการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนมาเปลี่ยนเป็น
          พลังงานเคมีในรูป ATP และ NADPH (ดูบทที่ 9 ฟอสฟอรัส) สุดท้ายได้ส่งต่อพลังงานเคมีไปสะสมไว้ใน
          โมเลกุลของคาร์โบไฮเดรต  เซลล์พืชใช้โครงคาร์บอนของคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากการสังเคราะห์แสงในการ

          สังเคราะห์สารอินทรีย์ทุกชนิดที่พืชต้องการ  คลอโรฟิลล์จึงเป็นต้นทางของโลกที่เชื่อมโยงกับดวงอาทิตย์
          เพื่อการด�ารงชีพของสิ่งมีชีวิตในโลก
                   3) เป็นองค์ประกอบของดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA) บทบาทของดีเอ็นเอ คือ เป็น

          สารพันธุกรรมของพืช ส่วนอาร์เอ็นเอท�าหน้าที่ในการสังเคราะห์โปรตีน
                   4) เป็นองค์ประกอบของฮอร์โมนพืช 2 ชนิด คือ ออกซินและไซโทไคนิน ซึ่งฮอร์โมนทั้งสอง

          ชนิด มีความส�าคัญต่อพืชดังนี้
                     ก) ออกซิน ชนิดที่ส�าคัญคือกรดอินโดลแอซิติก หรือ IAA ซึ่งสังเคราะห์ในเมล็ด ปลายยอด

          ตาและใบอ่อน  มีหน้าที่เร่งการเจริญเติบโตของส่วนเหนือดินและราก  ส่งเสริมการพัฒนาของเนื้อเยื่อให้
          เป็นอวัยวะ กระตุ้นการพัฒนาของผล ควบคุมการแตกตาข้าง ท�าให้พืชตอบสนองต่อแสงและความโน้มถ่วง
          ของโลก

                     ข) ไซโทไคนิน  สังเคราะห์ในราก  เมล็ด  ผลและใบ  มีหน้าที่เร่งการเจริญเติบโตและแตก
          แขนงของราก  กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญของเนื้อเยื่อ  เร่งการงอกของเมล็ดและชะลอการวาย

          ของใบ
                   5) เป็นองค์ประกอบในสารอินทรีย์อื่นๆ  อันเป็นสารที่ไนโตรเจนอีกมากมายหลายชนิดที่มี
          บทบาทส�าคัญต่อการด�ารงชีวิตของพืช


                                                                                             4

             บทบาทของไนโตรเจนต่อการเติบโตของข้าว







                   Fageria (2014) ประมวลบทบาทของไนโตรเจนต่อการเติบโตของข้าวไว้ดังนี้
               4.1 ภาพรวมบทบาทของไนโตรเจนต่อการเติบโตของข้าว

                   ไนโตรเจนเป็นธาตุที่มักขาดแคลนในดินนาโดยทั่วไป  ดังนั้นการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนจึงเป็นทางหนึ่ง
          ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าว ธาตุนี้มีบทบาทในการเติบโตของข้าวเนื่องจากประมาณ 75 % ของธาตุ ซึ่งมีใน



          246 ไนโตรเจนของข้าว                                        ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254   255