Page 20 -
P. 20
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 1 บทนํา
1.1 ความเปนมาและความสําคัญของปญหา
ในปจจุบันอุตสาหกรรมการทองเที่ยวมีความสําคัญอยางยิ่งในการพัฒนาประเทศ ในแตละปประเทศ
ไทยไดรับการตอบรับจากนักทองเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวตางชาติอยางลนหลาม การทองเที่ยวที่กําลังไดรับ
ความนิยมในปจจุบันนี้คือการทองเที่ยวเชิงสรางสรรค (creative tourism) เปนการทองเที่ยวรูปแบบใหมที่
คํานึงถึงความยั่งยืน นักทองเที่ยวจะไดประสบการณจากการเรียนรูและมีสวนรวมในกิจกรรมดานวัฒนธรรม
ชุมชน วิถีชีวิต ทําใหเกิดความผูกพันระหวางนักทองเที่ยวกับเจาบานที่สงผลใหนักทองเที่ยวเกิดความ
ประทับใจและจดจําพื้นที่ทองเที่ยวนั้นตลอดไป จากรูปแบบการทองเที่ยวเชิงสรางสรรคดังกลาว ชุมชนตางๆ
ในประเทศไทยใหความสําคัญและหยิบยกอัตลักษณดานวิถีชีวิตและภูมิปญญาทองถิ่นของชุมชนที่หลากหลาย
เชน สถาปตยกรรม อาหารพื้นเมือง ศิลปหัตถกรรม ประเพณีและวัฒนธรรม รวมถึงเรื่องราวคําบอกเลา เกร็ด
ทางสังคมวัฒนธรรมมาสงเสริมและสรางความนาสนใจใหกับสถานที่ทองเที่ยวในแตละพื้นที่เพื่อดึงดูดความ
สนใจและตอบสนองความตองการของกลุมนักทองเที่ยวที่หลากหลายไดเปนอยางมาก จนทําใหเกิดการ
ทองเที่ยวอยางยั่งยืนซึ่งจะนําไปสูการสรางรายไดและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน
ภูมิปญญาทองถิ่นจึงมีความสําคัญกับการพัฒนาการทองเที่ยวอยางยั่งยืนและการสรางคุณคาเพิ่ม
ใหแกผลิตภัณฑชุมชน ดังเห็นไดจากงานวิจัยดานคติชนวิทยาที่หันมาใหความสําคัญกับการศึกษาในแนวทาง
ดังกลาว เชน งานวิจัยเกี่ยวกับคติชนสรางสรรคของศิราพร ณ ถลาง และคณะ (2556: 7) ที่เสนอวา พลวัตของ
คติชนวิทยาในสังคมไทยปจจุบันที่เปนผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมมีความเปลี่ยนแปลง
ไปอยางรวดเร็ว สงผลใหเกิดปรากฏการณพลวัตของคติชนในลักษณะตางๆ ตามบริบทสังคม ซึ่งเรียกวา
ปรากฏการณ “คติชนสรางสรรค” (creative folklore)
คําวา คติชนสรางสรรค เปนศัพทที่ประดิษฐขึ้นใหม เพื่อลอกับคําวา เศรษฐกิจสรางสรรค (creative
economy) ซึ่งเปนกระบวนทัศนใหมเชิงนโยบายทางเศรษฐกิจระดับโลกและระดับประเทศ ตั้งแตป ค.ศ.2000
เปนตนมา อาศัยแนวคิดเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจโดยการสรางมูลคาเพิ่ม (value adding) โดยใชทุนทาง
วัฒนธรรมที่มีอยูเดิม ซึ่งหมายรวมถึงการนําเอาระบบคุณคา ระบบความเชื่อ และคติชนที่มีอยูเดิมในสังคม
ประเพณีมาสรางสรรคใหมในสังคมปจจุบัน คติชนสรางสรรคจึงหมายถึง คติชนที่มีการสรางใหมหรือผลิตซ้ําใน
บริบททางสังคมไทยปจจุบันในลักษณะของการสืบทอดคติชนในบริบทใหม การประยุกตคติชน การ “ตอยอด”
คติชน การตีความใหมและสรางความหมายใหม หรือ การนําคติชนไปใชเพื่อ “สรางมูลคาเพิ่ม” หรือเพื่อ
“สรางอัตลักษณของทองถิ่นหรืออัตลักษณชาติพันธุ” (ศิราพร ณ ถลาง, 2559: 18-19) ในงานวิจัยของ
ญาณภา บุญประกอบ และคณะ (2560: 97) ไดนําเสนอหลักเทคนิค 4 ขอ ของการยกระดับภูมิปญญาทองถิ่น
ที่เปนทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนสูการพัฒนาเชิงสรางสรรค ไดแก 1. การอนุรักษ คือ การสรางสิ่งที่เหลืออยู
เพียงเล็กนอยใหคงอยูสืบไป เชน การอนุรักษประเพณีสงกรานต 2. การฟนฟู คือ การนําสิ่งที่สูญหายไปแลวให
2 - 1