Page 30 -
P. 30

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว










                                  2) การวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตไหมอีรี่ในเชิงพาณิชย์
                                  ในการศึกษาศักยภาพของการผลิตในเชิงพาณิชย์นั้น จะท าการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้าน

                       ศักยภาพผู้ผลิต โดยเป็นการส ารวจโครงสร้างสถานภาพการด าเนินการในปัจจุบันของผู้ประกอบการ ทั้ง
                       ด้านการผลิต เทคโนโลยีการผลิต ปัจจัยการผลิต แรงงาน การตลาดภายในและภายนอกประเทศ การ

                       บริหารงาน รวมถึงการศึกษาศักยภาพโซ่อุปทานซึ่งเป็นการประเมินสินค้าเป็นรายโซ่อุปทานในการผลิต
                       โดยเน้นการศึกษาไปที่การตอบสนองด้าน ระยะเวลาต้นทุน ปริมาณ คุณภาพและมาตรฐานในการจัดหา

                       วัตถุดิบในการผลิต ทั้งวัตถุดิบหลักได้แก่ไหม และวัตถุดิบสนับสนุนอื่นๆที่ส าคัญเช่น ไข่ไหม วัสดุอุปกรณ์

                       ต่างๆ ดังนั้น จึงจะท าการศึกษาอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องตลอดโซ่อุทานของสินค้าคืออุตสาหกรรมขั้นต้นขั้น
                       กลาง และอุตสาหกรรมสนับสนุน โดยการวัดศักยภาพโซ่อุปทานจะวัดจากความสามารถตอบสนองต่อ

                       ประเทศคู่ค้า โดยหากมีต้นทุนต่ าคุณภาพสูงส่งมอบรวดเร็วจะเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูง

                                  การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงในแต่ละระดับของห่วงโซ่อุปทานและความสอดคล้องของการ
                       กระจายข้อมูลผลิตภัณฑ์ บริการการเงิน ความรู้ ในแต่ละระดับของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการวัด

                       สมรรถนะของโซ่อุปทานจะใช้แบบจ าลองอ้างอิงกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน ( Supply Chain Operation
                       Reference  Model: SCOR  Model)  โดยจะท าการวัดในระดับที่ 1  Top  level  ตลอดโซ่อุปทานเพื่อ

                       ก าหนดขอบเขตในการปรับปรุงประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน ในขณะที่ในระดับเกษตรกร คือกลุ่ม
                       เกษตรกรผู้เลี้ยงไหม และผลิตเส้นไหมอีรี่จะท าการวิเคราะห์ในระดับที่ 2  Configuration  level  ที่มุ่ง

                       วิเคราะห์กระบวนการย่อยต่างๆ เช่น การวางแผนโซ่อุปทาน การวางแผนการผลิต การวางแผนการจัดส่ง

                       ซึ่ง SCOR Model เป็นเครื่องมือที่ใช้อธิบายลักษณะ และแสดงถึงกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน
                       ท าให้ทราบถึงสถานภาพปัจจุบันในห่วงโซ่อุปทาน (AS-IS) แล้วยังท าให้ทราบถึงสิ่งที่คาดหวังจะให้เป็น

                       (TO-BE) ในอนาคตโดยมีแนวทางวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap  Analysis) ระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่หวังให้

                       เป็น























                                                                 11
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35