Page 24 -
P. 24
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.3.3 งานวิจัยเรื่องการจัดการโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
Geffi and Memedooviic (2003) รายงานว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกายของโลก
นั้นเป็นห่วงโซ่คุณค่า (Global value chain) แบบขับเคลื่อนโดยผู้ซื้อ (buyer driven) ไม่ได้มีลักษณะ
เป็นแบบขับเคลื่อนโดยผู้ผลิต (producer driven chain) ดังนั้นก าไรของอุตสาหกรรม ขึ้นอยู่กับระหว่าง
การออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาดและการเงินของผู้ค้าปลีก ผู้ออกแบบ และนักการตลาด โดย
Fernandez –Stark et al. (2011) เห็นว่ามีกิจกรรม 6 อย่างที่จะท าให้เกิดมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่คุณค่าของ
อุตสาหกรรมสิ่งทอได้ คือ 1) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2) การออกแบบ 3) การผลิต 4) การขนส่ง 5)
การตลาดและตราสินค้า 6) การบริการ โดยปัจจัยที่จะเพิ่มมูลค่าได้มากที่สุดคือการบริการและการวิจัย
และพัฒนาผลิตภัณฑ์
สุวรรณชัย (2546) ได้อธิบายถึงลักษณะของห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่อง
แต่งกายว่าเป็นโซ่อุปทานที่มีลักษณะใหญ่และสลับซับซ้อน มีผู้เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานตลอดทั้งสายโซ่
จ านวนมาก อาทิเช่นผู้ผลิตวัตถุดิบคือผ้ารวมไปถึงอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ด้าย กระดุม เป็นต้น อีกทั้งมีการ
แข่งขันกันอย่างรุนแรงท าให้รูปแบบการค้าแบบ 1: 1 คือ ลูกค้ารายเดียวหรือซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์
รายเดียวจะไม่มีอีกต่อไปนอกจากนี้ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา
ในขณะที่ Duangpun and Thananya (2007) ได้ศึกษาการจัดการโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมสิ่งทอของ
ไทย พบว่าปัญหาของโซ่อุปทานสิ่งทอของไทยที่วิเคราะห์โดยใช้ SCOR Model เพื่อศึกษาสถานภาพ
ปัจจุบันเปรียบเทียบกับสิ่งที่ควรจะเป็น พบว่าปัญหาที่พบคือการใช้เวลานานในการหาวัตถุดิบ เนื่องจาก
ในการผลิตสิ่งทอมีวัตถุดิบมากมายหลายชนิด อีกทั้งขาดการประสานร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิตและซัพ
พลายเออร์ ปัญหาที่พบต่อมาคือการจัดการด้านข้อมูลพบว่าไม่มีการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างผู้ซื้อและ
ผู้ขาย ดังนั้นการวางแผนการผลิตจึงไม่สามารถท าได้ โดยเฉพาะผู้ผลิตรายเล็กไม่มีการใช้โปรแกรม
คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการะบวนการผลิต ดังนั้น ในการจัดการโซ่อุปทานจึงไม่สามารถน าข้อมูลต่างๆ
มาช่วยในการพัฒนากระบวนการต่างๆได้ ในขณะที่ในด้านการผลิตและสินค้าคงคลังของผู้ผลิตรายเล็ก
และขนาดกลางมีปัญหามากกว่าผู้ผลิตรายใหญ่ เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่มีการใช้โปรแกรมเข้ามาช่วย
จัดการ ในขณะที่รายเล็กและรายกลางเผชิญปัญหาเรื่องคอขวด เนื่องจากไม่มีการจัดการเรื่องสินค้าคง
คลัง
Sunil and Siddharth (2013) ศึกษาเรื่อง Dynamic of Garment Supply Chain ของ
อุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศอินเดียพบประเด็นส าคัญในโซ่อุปทานในประเทศอินเดียว่า 1) การจัดการ
สินค้าคงคลังเนื่องจากอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกายนั้นมีความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากและมี
อายุสินค้าค่อนข้างสั้นโดยเฉพาะสินค้าแฟชั่นผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงของรสนิยมค่อนข้างเร็ว แนวโน้ม
5