Page 20 -
P. 20

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว











                                                              บทที่ 1


                                                               บทน ำ


                       1.1  ที่มำและควำมส ำคัญ/หลักกำรและเหตุผล

                               ไหมเป็นเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากรังที่ห่อหุ้มดักแด้ไหม โดยไหมที่คนเราทั่วไปรู้จักกันดีได้แก่ไหม

                       หม่อน (mulberry silkworm, Bombyx mori) ซึ่งกินใบหม่อนเพียงชนิดเดียวเป็นอาหาร มนุษย์น าเส้น
                       ใยไหมหม่อนมาท าเครื่องนุ่งห่มยาวนานกว่า 4,000 ปี โดยไหมหม่อนมีคุณลักษณะความเงาแวววาว เนียน

                       เรียบและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เป็นที่ต้องการของตลาดและราคาสูง แต่อย่างไรก็ตามมนุษย์ไม่สามารถ

                       เลี้ยงไหมหม่อนจนครบวงจรชีวิตได้ นอกจากไหมหม่อนไหมแล้วยังมีไหมป่าที่ให้เส้นใยมาใช้ประโยชน์ท า
                       เครื่องนุ่งห่ม และไม่ใช้ใบหม่อนเป็นอาหาร (wild  silkworm  หรือ non-mulberry  silkworm) อีก 8

                       ชนิด ได้แก่ Antheraea  pernyi,  A. yamamai,  A. proylei,  A. assamensis,  A. mylitta,

                       A. paphia, Philosamia  (Samia  ricini) และ P. cynthia แต่มีเพียง 3  ชนิดคือ ไหมทาซาร์ (tasar
                       silkworm, A. mylitta และ A. proylei) ไหมมูก้า (muga silkworm, A. assamensis) และไหมอีรี่ (Eri

                       silkworm,  Samia  ricini) โดยไหมเหล่านี้มีการเลี้ยงเป็นอาชีพในประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย
                       และเกาหลี เป็นต้น แต่ไหมอีรี่เป็นไหมป่าเพียงชนิดเดียวที่มนุษย์สามารถเลี้ยงได้ครบวงจรชีวิตอย่าง

                       สมบูรณ์ ส่วนไหมมูก้าและไหมทาซาร์นั้น ในบางช่วงของวงจรชีวิตต้องปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติ เช่น
                       ในช่วงผสมพันธุ์ต้องเอามาปล่อยไว้บนต้นพืชอาหาร มิฉะนั้นผีเสื้อจะไม่ยอมผสมพันธุ์ ท าให้ยากต่อการ

                       ผลิต (ทิพย์วดี และคณะ, 2555)

                               ประเทศไทยเริ่มเลี้ยงไหมอีรี่ในปี พ.ศ. 2517  โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและ
                       สหกรณ์ ซึ่งได้ศึกษาวิจัยและรักษาพันธุ์ไว้ที่สถานีวิจัยพริ้ว จังหวัดจันทบุรี (พิสิษฐ์ และเตือนจิตต์ 2520)

                       ต่อมาโครงการวิจัยเกษตรที่สูงเพื่อหาอาชีพเสริมให้ชาวเขาทดแทนการปลูกฝิ่น ได้น าไหมอีรี่ขึ้นไปเลี้ยงบน

                       ดอยอ่างขางและดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสามารถเลี้ยงได้ดี แต่ก็เลี้ยงไม่ได้ตลอดปี เนื่องจากอากาศที่
                       หนาวเย็นจัด (Wongtong et.   al.,1980)   ในปี พ.ศ.2533           โดยการสนับสนุนของ

                       มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร. สุธรรม อารีกุล ส่งเสริมการเลี้ยงไหมอีรี่ให้กับเกษตรกรผู้
                       ปลูกมันส าปะหลังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เนื่องจากไหมอี่รี่เป็นไหมที่กินใบมันส าปะหลัง

                       และใบละหุ่งเป็นอาหาร และมนุษย์สามารถเลี้ยงได้ครบวงจรชีวิตอย่างสมบูรณ์ อีกทั้งโปรตีนจากไหมอีรี่
                       ยังมีค่าสูงถึงร้อยละ 66-67 ในขณะที่ไหมหม่อนมีเพียงร้อยละ 54-55 ซึ่งในอนาคตอาจจะเป็นแหล่ง

                       โปรตีนที่ส าคัญทดแทนโปรตีนจากสัตว์ได้
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25