Page 21 -
P. 21

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว










                               มันส าปะหลังซึ่งเป็นพืชอาหารหลักของไหมอีรี่ ในปี พ.ศ. 2558 มีพื้นที่ปลูกทั้งหมดถึง 9.3 ล้าน
                       ไร่ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุดถึง 4.8 ล้านไร่ รองลงมาได้แก่ภาคเหนือ 2.05 ล้านไร่และภาค

                       กลาง 2.37 ล้านไร่ (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2559) และเกี่ยวข้องกับเกษตรกร 4-5 แสนครัวเรือน
                       ทั่วประเทศ  ดังนั้นเกษตรกรผู้ปลูกมันส าปะหลังสามารถหารายได้เสริมจากการปลูกมันส าปะหลังได้

                       กล่าวคือในการเลี้ยงไหมอีรี่ 20,000 ตัวจะใช้ใบมันส าปะหลัง 600-700 กิโลกรัม ซึ่งสามารถทยอยเก็บได้
                       จากพื้นที่ปลูกเพียง 2-5 ไร่ ดังนั้นเกษตรกรสามารถน าใบมาเลี้ยงไหมแทนการทิ้งไป การเด็ดใบมาเลี้ยง

                       ไหมอีรี่ไม่เกิน 50% ของใบที่มีทั้งหมด จะไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตหัวมันส าปะหลัง และถ้าเด็ดใบไป

                       30% กลับท าให้ผลผลิตหัวมันสูงขึ้น(ทิพย์วดี และคณะ 2535)  และโรงเรือนที่ใช้เลี้ยงไหมอีรี่มีขนาดเพียง
                       4X4 เมตรโดยลงทุนเพียง 7,000- 10,000 บาท เท่านั้นดังนั้นไหมอีรี่จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร

                       ในการเพิ่มรายได้ (ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม ,2558)

                              อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะมีการส่งเสริมการเลี้ยงไหมอีรี่มาเป็นเวลานาน แต่อุตสาหกรรมไหมอีรี่ก็
                       ยังไม่สามารถพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ได้อย่างเต็มตัว เนื่องจากปัญหาและขาดข้อมูลในหลายๆ

                       ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับต้นน้ า กล่าวคือการผลิตไหมอีรี่ของเกษตรกรยังมีปัญหาในด้านต่างๆ
                       มากมาย เช่น ปัญหาการส่งวัตถุดิบให้กับโรงงานขาดความต่อเนื่อง ปัญหาคุณภาพและมาตรฐานไหมอีรี่

                       ปัญหาการเก็บรักษาไหมอีรี่ เป็นต้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาสถานการณ์ในปัจจุบันของการผลิต
                       ไหมอีรี่ในระดับต้นน้ า ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต ตั้งแต่เรื่องระบบ

                       การจัดการผลิตไหมอีรี่ของเกษตรกรเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงาน ส ารวจความต้องการของโรงงานในประเทศ

                       การสร้างเครือข่ายระหว่างเกษตรกรและ โรงงาน รวมถึงถอดบทเรียนจากกลุ่มผู้เลี้ยงไหมอีรี่ที่ประสบ
                       ความส าเร็จและไม่ส าเร็จ เพื่อให้ได้แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไหมอีรี่ในระดับต้นน้ าสู่อุตสาหกรรม

                       เชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน


                       1.2  วัตถุประสงค์

                           1. ศึกษาสภาพทั่วไปด้านการผลิต การตลาดและความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานไหมอีรี่ในปัจจุบัน

                           2. ศึกษาศักยภาพการผลิตไหมอีรี่ในเชิงพาณิชย์
                           3. ศึกษาปัจจัยสู่ความส าเร็จของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตไหมอีรี่

                           4. เสนอแนะแนวทางการพัฒนาไหมอีรี่ในระดับต้นน้ าในเชิงอุตสาหกรรม







                                                                 2
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26