Page 38 -
P. 38

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               ชุมชน 15-20 คนโดยมีโครงสรางคือ ประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก และกรรมการ กรรมการปา

               ไมจะมีบทบาทหลักในการประสานงานโครงสรางจิตสํานึกใหคนในชุมชนและพิจารณาอนุมัติเมื่อมีการขอใชไม

               ในปาโดยจะมีแบบฟอรมใหเขียนรายละเอียดการขอใชไมแลวสงกลับคณะกรรมการเพื่อพิจารณาในการประชุม

               ประจําเดือนของหมูบาน คณะกรรมการปาแตละหมูบานจะรวมเปนกรรมการปาระดับตําบล ซึ่งจะมีการ
               ประชุมรวมกันเปนประจําทุก 6 เดือนเพื่อพูดคุยถึงความกาวหนาของงานและแผนการดําเนินงานในแตละชวง

               กฎระเบียบเกี่ยวกับการใชประโยชนจากปาของแตละหมูบานจะมีหมวดหลักคลายๆกัน กลาวคือ มีหมวดที่

               เกี่ยวกับการขอใชไม ซึ่งจะไมมีการตัดไมเพื่อขายแตเพื่อการใชสอยในชุมชนเทานั้น นอกจากนี้มีขอกําหนดการ

               ตัดไมฟน มีขอที่เกี่ยวกับไฟปา การหามแผวถางพื้นที่ปา สวนที่แตกตางคือ จํานวนตนไมที่อนุญาตใหตัดไดตอ

               ครัวเรือนในแตละหมูบานจะตางกันบาง รวมทั้งคาธรรมเนียม การใชไมซึ่งแตละหมูบานกําหนดไวเหมือนและ
               ตางกันบางเชน หมู 2,3 กําหนดใหผูขอใชไมตองจายคาธรรมเนียม คนละ 100 บาท เขากองทุนปาชุมชน และ

               ตองจายคาตอบแทนใหคณะกรรมการ  2  คน ที่ออกไปตรวจและทําเครื่องหมายบนตนไมอีกคนละ  50  บาท

               การฝาฝนกฎระเบียบจากมีการปรับและนําเงินเขากองทุนปาชุมชน


                       แผนกิจกรรมประจําปของคณะกรรมการระดับตําบล คือ การประชุมทุก    6  เดือน และสรุปงาน

               ประจําป การทําแนวกันไฟ และการตรวจปา โดยตั้งแตป  พ.ศ. 2551  ไดรับงบประมาณสนับสนุนหลัก จาก

               อบต.แมทาโดยอบต.แมทา ระบุเปนแผนกิจกรรมประจําปของ อบต. และขยายงานการจัดการปาสูการจัดการ
               ทรัพยากรในชุมชนโดยคณะกรรมการปาไดจัดทําโครงการปลูกไมใชหนี้ใหสมาชิกขึ้นทะเบียนปลูกตนไมในที่ดิน

               ของตนเองเปนเวลา 3  ป เมื่อครบกําหนดจะไดรับคาตอบแทนใหตนไมที่รอดตายตนละ  6.50  บาท เพื่อเปน

               การรณรงคใหชาวบานปลูกไมไวใชสอย ลดการตัดไมจากปา นอกจากนี้ยังไดรวมกับ  อบต. สํารวจแนวเขตปา

               และที่ดินทํากินเพื่อเขารวมโครงการโฉนดชุมชน การออกหนังสือรับรองสิทธิชุมชน การจัดการที่ดิน เพื่อสราง

               ความมั่นคงในที่ดินใหกับชาวบาน สรางการมีสวนรวมในการจัดการทรัพยากรอยางยั่งยืนไดตอไป


                      ชวงปพ.ศ.  2540-2541  มีการกําหนดแนวเขตการจัดงานที่ดินทั้งหมดใหชัดเจนมากขึ้น โดยเปน
               กระบวนการจัดทําแนวเขตที่คณะกรรมการปาทั้งตําบลเขามามีสวนรวมในกระบวนการตัดสินใจ มีการแบง

               พื้นที่ปาเปนปาเพื่อการอนุรักษ ปาเพื่อใชสอย เมื่อขอบเขตชุมชนชัดเจนในแผนที่แลว จึงมีกระบวนการสราง

               การยอมรับและขอตกลงรวมกับเจาหนาที่อุทยานฯ เตรียมการชนเจาหนาที่ใหการยอมรับในแนวเขตที่ชาวบาน

               กําหนด และยืนยันจะปรับแนวเขตอุทยานอีกครั้งกอนมีการประกาศจัดตั้งอุทยานแหงชาติแมตะไคร ปจจุบัน

               ชุมชนยังคงรูปแบบการจัดการน้ําในระบบเหมืองฝายเพื่อผันน้ําและแบงปนน้ําในพื้นที่เกษตร นอกจากนี้ทุก
               ครัวเรือนยังใชน้ําผานระบบประปาภูเขา มีโรงงานผลิตน้ําดื่มตั้งอยูที่หมู  4 บานหวยทราย ชุมชนยังมีกฎเกณฑ

               รวมกันในการใชทรัพยากร เชน ไม,หนอไม,ผักปา,แมลงและของปาอื่นๆ






                                                           38
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43