Page 66 -
P. 66
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย
ประยุกต์ใช้ เช่น ในการจัดการผลผลิตส่วนเกิน จึงทำให้ต้นทุนรวมยังคงสูง ประกอบกับการที่ยังไม่มีมาตรฐาน
สินค้าเกษตรสำหรับหญ้าเนเปียร์สดและหญ้าเนเปียร์หมัก จึงทำให้เกษตรกรไม่สามารถทราบได้ว่าผลผลิตที่ได้
มีคุณภาพคุ้มกับการลงทุน ยังผลให้ผลผลิตของเกษตรกรมีคุณภาพไม่เท่ากัน เนื่องจากไม่มีมาตรฐานใน
การตรวจวัดคุณภาพ
นอกจากนี้ หากมีการควบคุมต้นทุนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การตัดสินใจระหว่างการจ้าง
Outsource กับการปลูกเอง ด้วยการเปรียบเทียบต้นทุนและอัตราการปลูกเสีย การวางแผนการผลิตภายใต้
ค่าจ้างแรงงานที่สูง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่จากของเดิมซึ่งเป็นกระสอบพลาสติกสองชั้นซึ่งสิ้นเปลือง
ความคุ้มค่าและคุ้มทุนของการลงทุนในระบบน้ำเมื่อเทียบกับผลผลิตที่ได้ การวางแผนบำรุงรักษาเครื่องจักรใน
การเก็บเกี่ยว เช่น ใบมีด การวางแผนการขนส่ง (Routing) โดยการรวมคำสั่งซื้อของลูกค้าหลายราย หลีกเลี่ยง
ค่าน้ำมันสิ้นเปลืองไปกับการวิ่งรถเที่ยวเปล่า เป็นต้น จะส่งผลให้ต้นทุนรวมนั้นลดลง ทั้งนี้ เนื่องจากราคาสินค้า
ที่กำหนดจะบ่งบอกถึงกำไรที่เกษตรกรจะได้รับ ในการกำหนดราคาขายหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 นั้น ผู้ขายจะมี
การศึกษาข้อมูลพืชอาหารสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น ข้าวโพด หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่นั้นๆ ที่นำมาทำ
เป็นอาหารสัตว์ได้ เช่น กากมัน มาเทียบเคียง ประกอบกับปริมาณผลผลิตหญ้าในตลาด ราคาปศุสัตว์ และ
ความต้องการหญ้าของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ ทว่าในกรณีของ
โรงไฟฟ้า การกำหนดราคาจะขึ้นอยู่กับผู้ซื้อเป็นหลัก
ความไม่สมดุลของการผลิตให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
รูปที่ 4.13 ผังก้างปลาสรุปปัญหาด้านความไม่สมดุลของผลผลิต
จากรูปที่ 4.13 ในการวิเคราะห์ปัญหาในด้านของความไม่สมดุลของการผลิตให้ตรงกับความต้องการ
ของลูกค้า พบปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่ทุกหน่วยในโซ่อุปทานไม่มีการจัดเก็บข้อมูลของลูกค้า เช่น ปริมาณ
ความต้องการในช่วงเวลาต่างๆ และขาดการวางแผนการตลาดระยะยาว ทำการค้าขายโดยไม่มีเป้าหมายกลุ่ม
ลูกค้าหรือจุดยืนในตลาดที่ชัดเจน ประกอบกับการที่ผลผลิตยังคงกระจุกตัวในบางพื้นที่ในปัจจุบัน อันเนื่องมาจาก
RDG6020008 50