Page 63 -
P. 63

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


               โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย




















                                 รูปที่ 4.11 การขนส่งหญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 โดยรถบรรทุก 6 ล้อ

                       5.  การขนส่งกลับคืน (Return) โดยส่วนมากจะไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องการคืนสินค้า โดยเฉพาะหญ้า

               เนเปียร์ตัดสดและหญ้าเนเปียร์หั่นสด เพราะการเก็บเกี่ยวนั้นดำเนินการวันต่อวัน ในกรณีที่สินค้าบรรจุ
               กระสอบเน่าเสีย ฟาร์มปศุสัตว์สามารถเปลี่ยนสินค้าในรอบการขนส่งถัดไป และอาจนำมาซึ่งการยกเลิกการสั่งซื้อ
               กับเกษตรกรผู้ปลูกหญ้ารายนั้นได้ ในกรณีที่คุณภาพของสินค้าไม่ตรงตามความต้องการของฟาร์มปศุสัตว์ เช่น
               อายุการตัด ขนาดชิ้นของหญ้าที่หั่นได้ วัตถุดิบในการผลิตหญ้าหมัก ซึ่งสังเกตจากปริมาณการกินได้ อาการของ

               สัตว์หลังการกิน เป็นต้น ฟาร์มปศุสัตว์อาจเปลี่ยนไปสั่งซื้อหญ้าจากเกษตรกรรายอื่นแทน

               ปลายน้ำ : โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ

                       1.  การวางแผน (Plan) เป็นการตัดสินใจระยะยาวสำหรับสมาชิก โดยมีการทำสัญญา Contract
               Farming กับโรงฟ้า สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกหญ้ารายย่อยอื่น จะมีการติดต่อกับโรงไฟฟ้าหากหญ้าที่ปลูกไว้มี
               อายุตัดเพิ่มขึ้น ไม่เหมาะสมสำหรับเป็นอาหารสัตว์ อันเนื่องมาจากได้รับน้ำในปริมาณมากในช่วงฤดูฝน และไม่
               สามารถทำการเก็บเกี่ยวได้ทัน จากการขาดแคลนแรงงานหรือสภาพแปลงไม่เหมาะสมที่จะใช้เครื่องจักรใน

               การเก็บเกี่ยว ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้ามีการวางแผนซื้อขาย รอบการรับซื้อ ปริมาณในการสั่งซื้อ และการจ้าง
               แรงงาน เป็นรายปี การวางแผนปริมาณการเก็บเกี่ยว เป็นรายเดือน ทั้งนี้ ปริมาณผลผลิตหญ้าจะขึ้นอยู่กับ
               ฤดูกาลและปริมาณน้ำที่หญ้าได้รับ

                       2.  วัตถุดิบ (Source) เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าจัดหาปัจจัยนำเข้าผลิตหญ้าเนเปียร์ ได้แก่ ท่อนพันธุ์ ปุ๋ย

               น้ำ อุปกรณ์การเกษตร และเครื่องจักรกลเกษตร สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าสมาชิก จะได้รับประโยชน์ใน
               เรื่องของน้ำและเครื่องจักรกลเกษตร โรงไฟฟ้าเป็นผู้จัดหาเกษตรกรสมาชิกส่งหญ้าเนเปียร์หั่นสดเข้าโรงงาน

                       3. การผลิต (Make) ในการผลิตหญ้าเนเปียร์หั่นสด เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าจะผลิตตามคำสั่งซื้อ (Make-
               to-Order) โดยโรงไฟฟ้าจะเป็นผู้สั่งผลิตและทำการเก็บเกี่ยวให้โดยใช้เครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งกระบวนการ
               ผลิตจะประกอบด้วย การเตรียมพื้นที่ การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการบรรจุลงเบ๊าท์ติดท้ายพ่วง

               รถบรรทุก
                       4.  การขนส่ง (Delivery) สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าที่เป็นสมาชิก ทางโรงไฟฟ้าจะมารับหญ้าเองที่

               หน้าแปลง ทำการเก็บเกี่ยว บรรจุและขนส่ง โดยรถบรรทุกหรือรถบรรทุกพ่วง โดยใช้แรงงานคนและ
               เครื่องจักร ตามกำหนดรอบการเก็บเกี่ยว ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกหญ้ารายย่อยอื่นนั้น จะใช้แรงงานคนขนส่ง
               หญ้าเนเปียร์หั่นสดที่มีอายุการตัดไม่เหมาะสมสำหรับการให้สัตว์กิน โดยรถกระบะ








               RDG6020008                                                                               47
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68