Page 47 -
P. 47

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                       การอนุรักษ์โคพื้นเมือง หมายถึงการเลี้ยงโคพื้นเมืองอย่างชาญฉลาดให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเป็นเวลา
               ยาวนานที่สุด ซึ่งก็คือการเก็บรักษาพันธุ์โคพื้นเมือง และน�ามาใช้ประโยชน์ให้ถูกต้อง

                       โคพื้นเมืองเป็นพื้นฐานโคเนื้อที่ส�าคัญของประเทศไทยเพราะสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
               และอาหารที่หาได้ในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีระบบการเลี้ยง และการจัดการโคพื้นเมืองของเกษตรกรในประเทศไทย
               มีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมอันได้แก่ สภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสภาพสังคมของ

               แต่ละท้องถิ่นซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ควรจะท�าการศึกษา เพราะวิธีการเลี้ยงและการจัดการโคพื้นเมือง
               ของแต่ละพื้นที่เป็นโลกทัศน์ของกลุ่มคนในชุมชน หรือในท้องถิ่นที่มีต่อการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างคน

               กับการท�ามาหากิน การประกอบอาชีพ โดยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการด�ารงชีพ โดยมี
               จุดมุ่งหมายสูงสุดอยู่ที่การด�าเนินชีวิตให้อยู่รอดโดยปกติสุขทั้งในระดับบุคคลและระดับชุมชน การเลี้ยงโคพื้นเมือง
               ของเกษตรกรมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจ และการด�าเนินชีวิตให้อยู่รอดในท่ามกลางกระแสการพัฒนา

               ประเทศที่เป็นมาในอดีต ปัจจุบัน และต่อเนื่องในอนาคต
                       รูปแบบการเลี้ยงโคพื้นเมืองเพื่อการอนุรักษ์จะเป็นการเลี้ยงแม่โคเพื่อผลิตลูกมีการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์
               ผสมพันธุ์ภายในสายพันธุ์เดียวกันเพื่อรักษาอัตลักษณ์ คุณลักษณะต่างๆ ไว้ ลูกโคที่ผลิตได้ก็จะเข้าสู่ระบบ

               การผลิตตามแผนอนุรักษ์ที่ออกแบบไว้ เช่น ลูกโคหย่านมเพศผู้ส่วนหนึ่งเก็บรักษาพันธุ์ไว้อีกส่วนหนึ่ง
               เข้าสู่ระบบการผลิตเพื่อไปเป็นเนื้อสู่ผู้บริโภค อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ จัดระบบการอนุรักษ์โคพื้นเมืองให้เป็น
               ระบบการผลิตที่มีความเชื่อมโยงกับระบบตลาด จึงจะตอบโจทย์ค�าถามที่ว่าอนุรักษ์แล้วได้อะไร


               กำรผลิตโคพื้นเมืองพันธุ์แท้ ในระบบกำรเลี้ยงผสมผสำนในระบบไร่นำ ตำมแนวทำงเศรษฐกิจพอเพียง

                       เป็นการเลี้ยงโคพื้นเมืองในระบบดั้งเดิมของเกษตรกรไทย ที่เลี้ยงโคพื้นเมืองเป็นอาชีพเสริมผสมผสาน
               ในระบบไร่นา แต่ก็ต้องรู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเลี้ยงโคในปริมาณที่เหมาะสม
               ตามสภาพในแต่ละพื้นที่ที่เพาะปลูกพืชแต่ละชนิด รูปแบบ และวิธีการเลี้ยงจึงมีความหลากหลายทั้งพืชและสัตว์

               ต้องอยู่ร่วมกันพึ่งพาอาศัยกันเช่น การเลี้ยงโคพื้นเมืองกับการท�านา การเลี้ยงโคพื้นเมืองกับการท�าสวน การเลี้ยง
               โคพื้นเมืองกับการท�าไร่ การเลี้ยงโคพื้นเมืองกับการปลูกยางพารา เป็นต้น

               กำรผลิตโคพื้นเมืองพันธุ์แท้ ในระบบกำรเลี้ยงเชิงกำรค้ำ

                       ดังได้กล่าวมาแล้วถึงจุดเด่นของโคพื้นเมืองที่มีมากมายหลายด้าน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ค�าถาม

               จึงอยู่ที่ว่า จะผลิตโคพื้นเมืองพันธุ์แท้เชิงการค้าได้ไหม ค�าตอบคือได้ ภายใต้เงื่อนไขและองค์ประกอบดังนี้
                       (1)  ต้องประชาสัมพันธ์เสริมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโคพื้นเมืองให้มากขึ้น กระตุ้นจนเกิดกระแส

               การหวงแหนเห็นคุณค่าของโคพื้นเมือง
                       (2)  ต้องมีการวางระบบการผลิตโคพื้นเมืองพันธุ์แท้ให้ครบวงจร ให้ได้เนื้อที่มีคุณภาพ ตลอดจน
               ผลิตภัณฑ์จากเนื้อโคสู่ผู้บริโภค ในช่องทางการตลาดเฉพาะ (Niche Market)

                       (3)  ต้องด�าเนินการในรูปกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ฯลฯ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง น่าเชื่อถือ
               มีอ�านาจในการต่อรอง สะดวกต่อการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
                       (4)  ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตเป็นระบบฟาร์มโคเนื้อ

                       (5)  ต้องมีเครือข่ายการผลิตโคพื้นเมือง และมีการพัฒนาเครือข่ายในทุกภาคส่วนของระบบการผลิต
                       (6)  ภาครัฐต้องให้ความส�าคัญของโคพื้นเมืองไทย สนับสนุนสร้างแรงจูงใจ สร้างหลักประกัน ก�าหนดไว้
               ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโคเนื้อของประเทศ



                                                                           คู่มือปฏิบัติงาน การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า ส�าหรับเจ้าหน้าที่  45
                                                                     Commercial Beef Cattle Production Work Manual Official Edition
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52