Page 44 -
P. 44

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                    ◆   การที่จะท�าให้ยีนใหม่ๆ มารวมตัวกันได้ก็ต้องกลับไปผสมย้อนกลับกับพวกที่มียีนตามลักษณะ
            ที่ต้องการในพันธุ์ได้ ก็คือ คัดเลือก แล้วผสมปิดฝูง

                    ◆   การผสมข้ามกันนี้จะช่วยให้ยีนในพื้นฐานของฝูงสามารถรวมตัวกันจัดระเบียบได้ดีขึ้น (Greater
            assortment)
                    ◆   การคัดเลือกที่น�ามาใช้นี้ก็เพื่อเสริมแต่งยีนให้คงไว้ซึ่งวัตถุประสงค์ดังที่ตั้งเปาหมายไว้

                    ◆   การผสมเลือดชิดท�าให้เกิดเลือดบริสุทธิ์ (Homozygosity) สูงขึ้นซึ่งจะน�ามาซึ่งความชัดเจน
            ในสายพันธุ์มากยิ่งขึ้น (Greater Prepotency)

            3.6.3  พันธุ์โคเนื้อที่ควรใช้ในกำรผลิตส�ำหรับประเทศไทย


                    1)  โคพื้นเมือง เป็นมรดกทางพันธุกรรมโคเนื้อที่ล�้าค่าสมควรมีแผนอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
            ส่งเสริมการผลิตมีตลาดจ�าเพาะ (Niche Market) รองรับ

                    2)  โคบราห์มัน เป็นโคเขตร้อนพันธุ์หลักที่ใช้ในการส่งเสริมของกรมปศุสัตว์จัดเป็นโคเอนกประสงค์
            (Common Denominator) ใช้เพื่อการผลิตได้ทั้งโคเนื้อและโคนม

                    3)  โคเนื้อพันธุ์ยุโรป มีหลากหลายพันธุ์ให้เลือก พันธุ์ที่กรมปศุสัตว์ผลิตน�้าเชื้อแช่แข็งให้บริการผสมเทียม
            ในขณะนี้เช่นพันธุ์แองกัส ชาร์โรเลส์ บลอน-ดาคิแตน วากิว จะเลือกใช้พันธุ์ใดก็ต้องมีเหตุมีผลเป็นพันธุ์ที่ตลาด
            ต้องการหรือไม่มีน�้าเชื้อบริการหรือจ�าหน่ายหรือไม่ เพราะแต่ละพันธุ์ก็มีข้อดีเด่นข้อด้อยแตกต่างกัน ต้องรู้จัก

            พันธุ์โคและใช้พันธุ์โคให้เป็น ขอให้ระลึกเสมอว่าพันธุ์โคยุโรปที่จะใช้ไม่ควรเป็นโคขนาดใหญ่โตเกินไปแต่ค่อนข้าง
            เล็กกว่าพันธุ์อื่นๆ มีไขมันแทรกดี (แล้วแต่ความต้องการของตลาด) ราคาที่ผลิตออกมาเป็นเนื้อแล้ว ต้องเป็นราคา
            ที่พี่น้องชาวไทยทุกระดับ สามารถหาซื้อบริโภคกันได้ ส่วนเนื้อที่ราคาสูงๆ ควรวางแผนเพื่อตลาดต่างประเทศ

            หรือตลาดเนื้อคุณภาพระดับบนไว้ด้วยเช่นกัน
                    4)  โคพันธุ์สังเคราะห์ ซึ่งส่วนใหญ่สร้างพันธุ์ในสหรัฐอเมริกาเพื่อให้สามารถเลี้ยงดูในเขตที่มี
            อากาศร้อนของสหรัฐอเมริกาได้เขาสร้างพันธุ์ไว้ให้เราเลือกใช้แล้วท�าไมเราไม่สนใจที่จะน�าโคพันธุ์สังเคราะห์

            เหล่านั้น มาต่อยอดใช้ประโยชน์ โคพันธุ์ชาร์เบรย์ในอเมริกาไม่เป็นที่นิยมแทบจะไม่มีเหลือที่พอมีอยู่บ้างขณะนี้
            อยู่ในประเทศออสเตรเลีย พันธุ์ที่ใช้อย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาขณะนี้เช่นพันธุ์ แบรงกัส

            บราห์ฟอร์ด ซิมบราห์ บีฟมาสเตอร์ ประเทศไทยเราควรใช้พันธุ์เหล่านี้ในระบบการผลิตโคเนื้อเชิงการค้าไหม
            ถ้าใช้จะใช้อย่างไร เป็นประเด็นที่น่าสนใจและต้องหาค�าตอบ ในระบบการผลิตโคเนื้อเชิงการค้าโคพันธุ์สังเคราะห์
            ยังมีความจ�าเป็นที่ต้องใช้รวมทั้งโคพันธุ์สังเคราะห์ที่สร้างขึ้นในประเทศไทย เช่น โคตาก ก�าแพงแสน กบินทร์บุรี

            ไทยแบล็ค

            3.6.4  ฐำนโคเนื้อเพศเมีย (แม่พันธุ์) ที่มีในประเทศไทยและกำรใช้ประโยชน์


                    โคเนื้อเพศเมียที่จะใช้เป็นฐานการผลิตและพัฒนาระบบการผลิตโคเนื้อของประเทศไทยเราก็มี
            โคพื้นเมืองซึ่งเป็นฐานใหญ่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ รองลงมาคือโคลูกผสมบราห์มันซึ่งส่วนใหญ่
            อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โคบราห์มันพันธุ์แท้ซึ่งเลี้ยงเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ในระบบฟาร์ม (Breeder Farm)

            และ โคลูกผสมยุโรปซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลูกผสมชาร์โรเลส์ โจทย์ค�าถามคือจะขยายฐานแม่โคเหล่านี้ และน�าใช้
            ประโยชน์เพื่อการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อของประเทศไทยเราอย่างไร






      42    คู่มือปฏิบัติงาน การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า ส�าหรับเจ้าหน้าที่
            Commercial Beef Cattle Production Work Manual Official Edition
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49