Page 40 -
P. 40
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แล้ว Interbred ในช่วงนี้กล่าวคือ มีระดับสายเลือดชอร์ทฮอร์นอยู่ 62.5% หรือ 5/8 และมีระดับ
สายเลือดโคบราห์มันอยู่ 37.5% หรือ 3/8 แล้วคัดเลือก ในรายละเอียดไม่ได้กล่าวถึงการจดสถิติเกี่ยวกับ
เรื่อง น�้าหนัก และความสมบูรณ์พันธุ์
แต่เขาได้พยายามคัดเลือกโคที่มีสีแดงคือพวก Red segregates ไว้ผสมพันธ์กัน คือเน้นไปที่สี โชคดี
ที่เขาไปได้พ่อพันธุ์ตัวหนึ่ง ซึ่งมีสมรรถภาพถ่ายทอดลักษณะไปให้ลูกหลานอย่างคงเส้นคงวา (high prepotency)
ให้ลูกเหมือนพ่อของมันมาก จึงให้ชื่อพ่อโคตัวนั้นว่า เจ้า “Monkey” เลยยึดเอาเจ้า Monkey มาสร้างเป็น
แนวสายพันธุ์ Line Breeding Program ซึ่งก็ผสมกับลูกสาว, หลานสาว ของมันต่อมาอีกเรื่อยๆ Monkey
มีลูกหลานตัวเด่นๆ ที่เขาใช้มาแทนตัวมันก็คือ Tipo และ Cotton สองตัว ยืนหลักต่อมา การคัดเลือกก็ยังคง
เน้นไปให้เหมือน Monkey ผู้เป็นต้นตระกูล
ปัจจุบันถือว่าเป็นพันธุ์แท้ซึ่งมีระดับสายเลือด 62.5% โคยุโรป+37.5% โคซีบูสีเน้นสีแดงเข้ม (Dark red)
ทนร้อน (Heat Tolerance) ทนเห็บ (Tick Resistance) ซึ่งสองลักษณะหลังนี้ก็ได้มาจากโคซีบู ข้อดี
อีกประการหนึ่งก็คือ โคตระกูลซีบูทั้งหลายจะมีกลิ่นตัวแรง กลิ่นตัวนี้ผลิตจากต่อมซีบั้มซึ่งเป็นต่อมใต้ผิวหนัง
กลิ่นเหม็นฉุน (Offensive Smell) แมลงไม่ชอบรบกวน
นี่เป็นตัวอย่างอันหนึ่งของการสร้างพันธุ์โคที่เป็นการรวมเอาลักษณะดีๆ ของทั้งสองสายพันธ์มารวมกัน
แถมทั้งสองพันธุ์ก็มาจากต้นตระกูลที่ต่างกันคือระหว่าง Bos taurus กับ Bos indicus ผลที่ได้คือเป็นโค
ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น (ที่สร้าง) นั้นเป็นอย่างดี การสร้างโคขึ้นมาในสภาพแวดล้อมเช่นนี้
ถือว่าได้สร้างพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ให้ตรงเปาประสงค์มาได้แล้วระดับหนึ่งการผสมแบบ Inbreeding ในรูปแบบ
ของ Line Breeding โดยใช้พ่อพันธุ์ Monkey ได้ช่วยให้เกิด Homozygosity ในสายพันธุ์แซนต้าเกอร์ทรูดิส
มากกว่าพันธุ์เก่าๆ อีกหลายๆ พันธุ์
ประเทศไทยเคยสั่งซื้อโคแซนต้าเกอร์ทรูดิสมาสองครั้ง ครั้งแรกโดยฟาร์มโชคชัยประมาณ
ปีพ.ศ. 2505-2506 กรมปศุสัตว์ได้น�าเข้ามาในปี พ.ศ. 2510-2511 ทั้งสองแห่งไม่ประสบผลส�าเร็จ
เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวโดยเฉพาะความชื้นสูง ซึ่งปกตินิสัยของโคก็ไม่ชอบความชื้นเป็นทุนเดิม
อยู่แล้ว ร้อนน่ะทนได้แต่ชื้นทนไม่ได้ (ปรับตัวไม่ได้) ถ้าจะเอาโคพวกนี้มาเก็บไว้ในห้อง Evaporative Cooling
ก็น่าจะมีปัญหาเช่นกัน เท่าที่สังเกตโคแซนต้าเกอร์ทรูดิสเลี้ยงที่ทับกวาง จังหวัดสระบุรี จะมีลักษณะรูปร่าง
(Confomation) ค่อนข้างจะไม่ดีนัก แต่กลับไปดีขึ้นเมื่อเอาไปเลี้ยงที่ท่าพระขอนแก่น การที่โครงร่างของมัน
มีขนาดใหญ่ กระดูกใหญ่ หนังหนามาก อาจมีปัญหาในเรื่อง Adaptivity ในสภาพแวดล้อมที่มีพร้อม แมลง
เหลือบยุงมากมายอีกต่างหาก พันธุ์นี้จึงค่อยๆ ลืมไปจากความทรงจ�าแม้ในสหรัฐฯ เองก็เช่นกัน
จะเห็นว่าโคเนื้อเพื่อกินเนื้อ จะเน้นไปที่เรื่อง “สี” โดยไม่ค�านึงถึง Hardiness เลยนั้นคงไม่ได้
38 คู่มือปฏิบัติงาน การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า ส�าหรับเจ้าหน้าที่
Commercial Beef Cattle Production Work Manual Official Edition