Page 7 -
P. 7
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1
ทางเลือกเชิงนโยบายส าหรับการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
สุวรรณา ประณีตวตกุล และคณะ
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ
การใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมนุษย์ยังเป็นปัญหาส าคัญใน
ปัจจุบัน โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์โดยรวมเพื่อน าเสนอทางเลือกเชิงนโยบายในการจัดการศัตรูพืชที่เป็น
มิตรต่อสิ่งแวดล้อม ท าการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งทุติยภูมิจากแหล่งต่างๆ และข้อมูลปฐมภูมิจากเกษตรกรผู้ปลูก
ผักตัวอย่าง จ านวน 303 ตัวอย่าง ในจังหวัดปทุมธานี นครปฐม และราชบุรี ปีการผลิต 2559 อาศัยการ
วิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ โดยประมวลสถานการณ์การจัดการศัตรูพืชของครัวเรือนเกษตรกรไทย
และวิเคราะห์ทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืช
รวมทั้งอาศัยแบบจ าลองทางเลือกในการประเมินความพึงพอใจต่อทางเลือกในการจัดการศัตรูพืช
การจัดการศัตรูพืชของครัวเรือนเกษตรกรส่วนใหญ่อาศัยสารเคมีก าจัดศัตรูพืชเป็นหลัก (ร้อยละ 86)
และยังพบเกษตรกรที่มีการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้องหลายด้าน เช่น ผสมสารเคมีหลายๆชนิดเข้าด้วยกันในการฉีด
พ่น และเกษตรกรมักไม่นิยมฝังกลบผลิตภัณฑ์สารเคมีเกษตรกรหลังจากใช้งาน ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
ได้แก่ ดินเสื่อมคุณภาพ อากาศเป็นพิษ การปนเปื้อนในแหล่งน้ า ปัญหาแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ า ตัว
เบียน มีจ านวนลดลง เมื่อพิจารณาทัศนคติด้านความเสี่ยง พบว่า เกษตรกรที่มีการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชสูง
มากมักเป็นกลุ่มเกษตรกรที่กลัวความเสี่ยง การสนับสนุนเกษตรกรให้มีความรู้และทางเลือกในการจัดการ
ศัตรูพืชโดยชีววิธี จะช่วยปรับทัศนคติของเกษตรกรให้มีความกล้าในการยอมรับความเสี่ยงได้สูงขึ้น ส าหรับ
เกษตรกรผู้ปลูกผักในภาพรวมมีความพึงพอใจในการปรับปรุงทางเลือกในการจัดการศัตรูพืชไปในทิศทางที่ท า
ให้ระบบนิเวศมีศัตรูธรรมชาติมากขึ้น มีการปนเปื้อนของสารเคมีต่อสิ่งแวดล้อมน้อย มีตรารับรองการจัดการ
ศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการจัดการศัตรูพืชที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ในระยะยาวท าให้
มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งไม่สูงขึ้น โดยมีมูลค่าความเต็มใจจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณลักษณะข้างต้น เท่ากับ 27,986
บาท/ไร่/รอบการผลิต
ดังนั้น ภาครัฐควรจัดสรรงบประมาณส าหรับการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวทางการ
จัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากสารเคมีก าจัดศัตรูพืชจ าเป็นต้องน ามาพิจารณาร่วมกันหลายฝุาย เช่น กรมวิชาการ
เกษตร กรมควบคุมมลพิษ และกรมศุลกากร นอกจากนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรควรให้ความรู้ผ่านการ
ฝึกอบรมด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานให้กับเกษตรกรอย่างทั่วถึง กรมวิชาการเกษตรควรพิจารณา
ความเป็นไปได้ของการให้ใบรับรองตราสินค้าเกษตรที่ผลิตแบบเป็นมิตรต่อระบบนิเวศ และงานวิจัยด้าน
เศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยังควรด าเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป
ค าส าคัญ: การจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทัศนคติด้านความเสี่ยง แบบจ าลองทางเลือก พืชผัก
1
สนับสนุนทุนวิจัยโดยส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ด าเนินการเสร็จสิ้น เดือนกุมภาพันธ์ 2560
v