Page 5 -
P. 5
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อพิจารณาทัศนคติด้านความเสี่ยง พบว่า เกษตรกรที่มีการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชสูงมากมักเป็น
กลุ่มเกษตรกรที่กลัวความเสี่ยง เกษตรกรที่มีทางเลือกในการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี หรือวิธีอื่นที่ไม่ใช้สารเคมี
ก าจัดศัตรูพืช เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงได้สูงกว่า สะท้อนให้เห็นว่า การ
สนับสนุนเกษตรกรให้มีความรู้และทางเลือกในการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี จะช่วยปรับทัศนคติของเกษตรกร
ให้มีความกล้าในการยอมรับความเสี่ยงได้สูงขึ้นเนื่องจากมีทางเลือกในการจัดการได้มากกว่า ปัจจัยที่มี
ความส าคัญต่อทัศนคติด้านความเสี่ยง ได้แก่ ความถี่ในการแลกเปลี่ยน พูดคุยและถ่ายทอดประสบการณ์การ
จัดการศัตรูพืชกับบุคคลในครอบครัว ท าให้มีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า
ภาครัฐควรส่งเสริมความรู้ให้เกษตรกรรับรู้ถึงแนวทางและวิธีการจัดการศัตรูพืชทางเลือก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ชีววิธี รวมถึงให้ความรู้ด้านพิษภัยของสารเคมีต่อสุขภาพ เพื่อน าไปสู่การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง และมี
ประสิทธิภาพต่อไป
โดยสรุป เกษตรกรผู้ปลูกผักในภาพรวมมีความพึงพอใจในการปรับปรุงทางเลือกในการจัดการศัตรูพืช
ไปในทิศทางที่ท าให้ระบบนิเวศมีศัตรูธรรมชาติมาก มีการปนเปื้อนของสารเคมีต่อสิ่งแวดล้อมน้อย มีตรา
รับรองการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการจัดการศัตรูพืชที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์
ในระยะยาวท าให้มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งไม่สูงขึ้น โดยมีมูลค่าความเต็มใจจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณลักษณะข้างต้น
เท่ากับ 27,986 บาท/ไร่/รอบการผลิต ชี้ให้เห็นว่า ผลประโยชน์จากการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อมมีมูลค่าสูง และภาครัฐสามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อให้เกิดการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อมได้ เช่น ส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพควรน ามาสนับสนุนการวิจัยในด้าน
ปูองกันผลกระทบของสารเคมีก าจัดศัตรูพืชที่มีต่อสุขภาพ โดยสามารถลงทุนงานวิจัยนี้ได้ถึง 1,500 ล้านบาท
ซึ่งเป็นผลประโยชน์ขั้นต่ าจากผลการวิจัยด้านสุขภาพ นอกจากนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรควรสนับสนุน
งบประมาณส าหรับการจัดการฝึกอบรมด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานให้กับเกษตรกร โดยสามารถ
จัดสรรงบประมาณได้ถึง 500 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลประโยชน์ขั้นต่ าจากผลการวิจัยด้านการเพิ่มความรู้ด้านการ
จัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน และกรมวิชาการเกษตรควรพิจารณาวางแผนสนับสนุนการรับรองคุณภาพผักที่
มีการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยจัดสรรงบประมาณได้ถึง 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลประโยชน์
ขั้นต่ าจากผลการวิจัยด้นตรารับรองคุณภาพ เป็นต้น โดยสรุป ปัจจัยส าคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของ
เกษตรกรต่อทางเลือกเพื่อลดการพึ่งพิงการใช้สารเคมีปูองกันศัตรูพืช ประกอบด้วย 1) ต้องการมีสุขภาพที่ดี 2)
มีประสบการณ์และความรู้ในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน 3) มีทัศนคติไม่กลัวความเสี่ยงกับทางเลือกใหม่
และ 4) ต้องการลดต้นทุนการผลิต
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยชิ้นนี้ ได้แก่
แนวทางมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ที่มีความเป็นไปได้ เช่น ภาษีสิ่งแวดล้อมจากสารเคมีก าจัดศัตรูพืช
ควรได้พิจารณาร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ และ
กรมศุลกากร โดยมีวัตถุประสงค์ในการน าเงินภาษีที่ได้รับมาจัดท ากองทุนสนับสนุนการวิจัยและ
พัฒนาทางเลือกในการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
iii