Page 4 -
P. 4
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการทางเลือกเชิงนโยบายส าหรับการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
สุวรรณา ประณีตวตกุล และคณะ
บทสรุปส าหรับผู้บริหาร (Executive Summary)
ปัญหาการจัดการมลพิษภาคการเกษตรจากการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชประเด็นหนึ่งเกิดจากนโยบาย
ทางเลือกในการปูองกันก าจัดศัตรูพืชมีอยู่อย่างจ ากัด โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์โดยรวมเพื่อน าเสนอ
ทางเลือกเชิงนโยบายในการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งทุติยภูมิจากแหล่ง
ต่างๆ และข้อมูลปฐมภูมิจากเกษตรกรผู้ปลูกผักตัวอย่าง จ านวน 303 ตัวอย่าง ในจังหวัดปทุมธานี นครปฐม
และราชบุรี ปีการผลิต 2559 อาศัยการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ โดยประมวลสถานการณ์การ
จัดการศัตรูพืชของครัวเรือนเกษตรกรไทย และวิเคราะห์ทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรในการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืช รวมทั้งอาศัยแบบจ าลองทางเลือกในการประเมินความพึง
พอใจต่อทางเลือกในการจัดการศัตรูพืช และท าการสังเคราะห์ทางเลือกเชิงนโยบายในการจัดการศัตรูพืชใน
ต่างประเทศเพื่อน าไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป
สารเคมีก าจัดศัตรูพืชมีบทบาทส าคัญในภาคการเกษตรของประเทศไทยมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
โดยภาคการเกษตรของไทยยังคงมีแนวโน้มการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การน าเข้าวัตถุ
อันตรายทางการเกษตรในปี พ.ศ. 2558 จ านวน 149,459 ตัน และมีมูลค่าการน าเข้ารวม 19,302 ล้านบาท
โดยมีการน าเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรทั้งหมด 257 ชนิด ผ่านผู้แทนจ าหน่ายจ านวน 147 บริษัท จาก
การตรวจสอบการตกค้างของสารเคมีก าจัดศัตรูพืชในพืชผักโดยเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีก าจัดศัตรูพืช (2559)
พบว่า ผักที่มีการตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ พริกแดง กะเพรา ถั่วฝักยาว คะน้า ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน
มะเขือเทศและแตงกวา เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม จากการส ารวจภาคสนาม
เกษตรกรตัวอย่างผู้ปลูกผัก จ านวน 303 ราย พบว่า การจัดการศัตรูพืชของครัวเรือนส่วนใหญ่อาศัยสารเคมี
ก าจัดศัตรูพืชเป็นหลัก (ร้อยละ 86) มีครัวเรือนเพียงบางส่วนที่เลือกการจัดการศัตรูพืชแบบอินทรีย์โดยไม่มี
การใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืช (ร้อยละ 14) แม้ว่าครัวเรือนตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตัวในการใช้สารเคมี
ก าจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง แต่ยังพบเกษตรกรที่มีการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้องหลายด้าน เช่น เกษตรกรมีการน า
สารเคมีหลายๆชนิดผสมเข้าด้วยกันในการฉีดพ่นเพื่อความรวดเร็วโดยไม่ค านึงถึงผลกระทบ เกษตรกรมักเลือก
ประเภทของสารเคมีที่ฉีดพ่นโดยสอบถามจากร้านค้าเป็นหลัก และเกษตรกรมักไม่นิยมฝังกลบผลิตภัณฑ์
สารเคมีเกษตรกรหลังจากใช้งาน เป็นต้น โดยปัญหาทางสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นในพื้นที่ ได้แก่ ปัญหาดินเสื่อม
คุณภาพ อากาศเป็นพิษ การปนเปื้อนในแหล่งน้ า ปัญหาพืชและสัตว์ในพื้นที่มีจ านวนลดลง และแมลงที่มี
ประโยชน์ เช่น ตัวห้ า ตัวเบียน มีจ านวนลดลง เป็นต้น ในขณะที่เกษตรกรโดยส่วนใหญ่ทราบถึงผลกระทบของ
สารเคมีก าจัดศัตรูพืชที่มีต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าสารเคมีอาจมีผลกระทบต่อ
สุขภาพได้หลากหลาย ท าให้เกษตรกรใช้สารเคมีจ านวนมากโดยขาดความตระหนักและความส าคัญถึง
ผลกระทบด้านนี้ ซึ่งในบทต่อไปจะศึกษาถึงทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกร และความเต็มใจจ่ายของ
เกษตรกรต่อแนวทางเลือกในการจัดการศัตรูพืช
ii