Page 32 -
P. 32

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                          ส่วนงานวิจัยที่วิเคราะห์ความเต็มใจจ่ายของการใช้สารก าจัดศัตรูพืช โดย Gallardo  and

                   Wang (2013) ศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ปลูกแอปเปิ้ล และลูกแพร์ในสหรัฐอเมริกา ศึกษา
                   ถึงคุณลักษณะของสารก าจัดศัตรูพืชที่เกษตรต้องการใช้ รวมถึงศึกษาคุณลักษณะด้านสิ่งแวดล้อม

                   และอคติด้านสังคมของเกษตรกรที่มีต่อการจัดการศัตรูพืช ในการควบคุมแมลง (Codling Moth) ซึ่ง

                   เป็นศัตรูพืชของแอปเปิ้ลและลูกแพร์ ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีความเต็มใจที่จะจ่ายสูงสุดใน
                   คุณลักษณะเพื่อที่จะลดความเป็นพิษของสารก าจัดศัตรูพืชต่อแมลงศัตรูธรรมชาติภายในฟาร์ม โดย

                   เกษตรกรพิจารณาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคมเข้ามาใช้ในการตัดสินใจร่วมด้วย เกษตรกร
                   ผู้ปลูกแอปเปิ้ลมีความเต็มใจจ่าย 26.03 ดอลลาร์ต่อเอเคอร์ ในขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกลูกแพร์มีความ

                   เต็มใจจ่ายมากกว่าถึง 40.06  ดอลลาร์ต่อเอเคอร์ เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกลูกแพร์ประสบปัญหาใน

                   การควบคุมศัตรูพืชมากกว่าเกษตรกรผู้ปลูกแอปเปิ้ล
                          ส่วนงานวิจัยแบบจ าลองทางเลือกที่ใช้ทางเลือกฐาน (Opt-Out) ในการศึกษา โดย Schulz,

                   Breustedt, and LataczLohmann (2014) ได้ประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะท าระบบฟาร์มสีเขียว
                   (Greening) หรือความยินดีของเกษตรกรที่จะลดการได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐ ผ่านนโยบายสี

                   เขียวฉบับใหม่ของประเทศเยอรมันนี ศึกษาโดยใช้วิธีแบบจ าลองทางเลือกให้เกษตรกรเลือกระหว่าง

                   ทางเลือกพื้นที่สีเขียวที่จะต้องเพิ่มขึ้นผ่านชุดทางเลือก และทางเลือกฐานในการลดการได้รับเงิน
                   สนับสนุนจากภาครัฐ   วิเคราะห์โดยใช้แบบจ าลอง Binary  Logit  Model ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า

                   เกษตรกรรับรู้นโยบายสีเขียวว่าเป็นข้อจ ากัดที่มีต้นทุนสูง แต่เกษตรกรได้รับผลกระทบแตกต่างกัน

                   ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคลและคุณลักษณะของฟาร์มที่แตกตต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เพาะปลูก
                   ในที่ดินที่มีประสิทธิภาพสูงและฟาร์มโคนมมักจะเลือกทางเลือกฐาน ที่ยินดีลดการได้รับเงินสนับสนุน

                   จากภาครัฐมากกว่าที่จะต้องปฏิบัติตามนโยบายสีเขียวฉบับใหม่ซึ่งต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียวและปลูกพืชที่
                   หลากหลาย เป็นต้น เนื่องจากฟาร์มเหล่านั้นมีต้นทุนในการผลิตสูง

                          งานวิจัยที่กล่าวมานี้จึงจัดเป็นงานชิ้นแรกๆที่เริ่มมีการประยุกต์เครื่องมือแบบจ าลองทางเลือก

                   มาใช้ในงานวิจัยด้านการจัดการศัตรูพืช โดยในประเทศไทยยังไม่พบงานวิจัยด้านนี้ จึงควรมีการศึกษา
                   ประเด็นเหล่านี้เพิ่มเติม


























                                                            17
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37