Page 314 -
P. 314
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ การจัดบริการทางการเกษตรให้เกษตรกรควรเลือกเฉพาะการจัดบริการที่
เป็นไปได้สูง และตัดบริการที่เป็นไปได้ยากออกไป เช่น การพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพ
ให้เข้าถึงง่าย อาจเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก และระบุว่าหน่วยงานใดควรเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
4. ประเด็นที่ควรตอบเพิ่ม
โดยมากเกษตรพันธะสัญญาเป็นของบริษัทใหญ่ซึ่งมีอยู่จํานวนน้อยแต่มีบทบาทสูง ในสภาพเช่นนี้รัฐ
จะมีบทบาทอย่างไร จะเข้าไปทํากฎหมาย/ระเบียบ/ดูแลให้ยุติธรรมอย่างไร ทางแก้ควรเน้นที่การ
จัดการ
ควรสรุปเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นพันธุ์/ชนิด/ประเภทพืชที่ปลูกบนพื้นที่สูงและเป็นที่ต้องการของ
ตลาด
ควรเพิ่มเติมเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันและ resilience ของเกษตรกร
5. ความเห็นเพิ่มเติม
จุดขาย “ดี อร่อย” ของสินค้าโครงการหลวงสามารถนําไปปรับใช้กับธุรกิจในพื้นที่สูงได้ โดยมีการ
ประกันคุณภาพ ตรวจสอบสารเคมี พืชเหมาะสมตามสภาพพื้นที่ มีการวางแผนให้ ผลผลิตที่ได้สด
สะอาด ปลอดภัย มีห้องเย็นและระบบขนส่งดี เป็นจุดขาย
อุปสรรคในการดําเนินนโยบายลดการใช้สารเคมีจากประสบการณ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
คือ
o บนพื้นที่สูงส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ จึงไม่สามารถรับรองมาตรฐาน GAP ในพื้นที่ที่ไม่มี
เอกสารสิทธิ์ได้ ปัจจุบันใช้การอนุโลมให้ในรายที่ไม่มีการบุกรุกพื้นที่ แต่ในอนาคตการควบคุม
อาจเข้มข้นขึ้น จึงอาจเป็นอุปสรรคได้
o มีค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรองแปลงสูง ประมาณแปลงละ 5000 บาท ซึ่งเป็นอุปสรรคในการ
สนับสนุนให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีเพื่อให้ผ่านมาตรฐาน GAP
สิ่งแวดล้อมถูกทําลายจากรายได้ไม่ใช่จากจิตสํานึก การแก้ไขต้องแก้ด้วยการสร้างรายได้จากสิ่งที่ดี ใช้
สารเคมีน้อย มีการนํานวัตกรรมและความรู้มาใช้ แต่ประเด็นคือสิ่งเหล่านี้ก้าวหน้าไม่ทันปัญหา
รายได้ที่ชาวบ้านได้มานํามาใช้จ่ายมากที่สุดคือด้านการศึกษาของลูก จึงมีแนวโน้มที่จะแสวงหาพืชที่มี
ตลาดแน่นอนและกว้าง เช่น ข้าวโพด การปรับเปลี่ยนให้หันมากปลูกพืชที่ดีคุณภาพสูง มีปัญหาขาย
ได้ยากเพราะตลาดแคบ จําเป็นต้องปลูกพืชให้หลากหลาย
a-44