Page 313 -
P. 313
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3.2 ลักษณะการเขียนข้อเสนอแนะ
พืชแต่ละชนิดมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน และเป็นเหตุผลว่าทําไมสินค้าบางชนิดสามารถสร้างกลุ่มที่
เข้มแข็งได้ แต่บางชนิดสร้างไม่ได้ บางชนิดเหมาะกับแปรรูป บางชนิดไม่เหมาะ การทิ้งของคุณภาพต่ํา
มีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ สาเหตุหนึ่งมาจากเมื่อหักลบกับต้นทุนค่าขนส่งซึ่งคิดตามน้ําหนักแล้วไม่คุ้ม
ที่นํามาขาย โดยเฉพาะพื้นที่สูงซึ่งขนส่งไกล สินค้าจะขายได้ก็ต่อเมื่อเป็นสินค้าคุณภาพดี ดังนั้น
ข้อเสนอแนะจึงควรแบ่งตามประเภทของพืชหรือสินค้า โดยพิจารณาว่าสินค้าลักษณะใดบ้างที่เข้ากลุ่ม
เดียวกันได้ และควรต้องดําเนินการอย่างไร
พืชแต่ละชนิดมีธรรมชาติไม่เหมือนกัน ซึ่งส่งผลให้ supply chain ของพืชแต่ละตัวไม่เหมือนกัน
ดังนั้น การพูดถึงการพัฒนาธุรกิจการเกษตรแบบกลางๆ จะไม่ทําให้งานปรากฏผลในการนําไปใช้จริง
ควร scope ข้อเสนอแนะโดยกําหนดสินค้าให้ชัดเจน และระบุว่าทําในพื้นที่ไหน
ควรแยกข้อเสนอแนะเชิงพื้นที่ตามรายสินค้า แล้วสรุปรวมเป็นนโยบายในภาพรวมที่จังหวัดจะที่ต้อง
เข้าไปช่วยเหลือ ข้อเสนอจึงควรมี 2 ชั้น เป็นนโยบายเชิงพื้นที่ตามรายสินค้า และนโยบายระดับ
จังหวัดรายสินค้า
บทบาทของรัฐมีความสําคัญและควรกําหนดขอบเขตให้ชัดเจนมากกว่านี้
อาจพิจารณาจัดกลุ่มนโยบายเป็น 4 กลุ่ม
o กลุ่มนโยบายที่จําเป็นที่จะต้องใช้การตัดสินใจเชิงนโยบาย เช่น ข้อเสนอแนะ 3 – 4 เรื่อง
ปัญหาสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดิน
o กลุ่มข้อเสนอการพัฒนากลไกในการเพิ่มมูลค่า (ข้อเสนอ 2 และ 8)
o เรื่องของกฎหมาย (ข้อ 6 -7) ควรแยกออกมาเนื่องจากเป็นเรื่องของการจัดการด้านกฎหมาย
และในเรื่องของเกษตรพันธะสัญญา สําหรับข้อ 7 ในเรื่องของการเตรียมความพร้อมของการ
ลงทุนขนาดใหญ่ ควรตรวจสอบว่าสอดคล้องกับกฎหมายข้อไหน อย่างไร ใครเป็น
ผู้รับผิดชอบ
o ข้อ 4 – 5 น่าจะเป็นข้อเสนอทางเลือกของการพัฒนาธุรกิจเกษตร
ควรเชื่อมโยงเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ามาในเรื่องข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เช่น การปรับนโยบายให้
สอดคล้องกับการปรับใช้ทฤษฎี
ประเด็นภูมิสังคมเป็นสิ่งที่ต้องคํานึงในการทําข้อเสนอเชิงนโยบายว่ามีความสอดคล้องหรือไม่
เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างทางภูมิสังคมมาก
ในข้อเสนอแนะเชิงนโยบายควรระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบงานให้ชัดเจน
a-43