Page 19 -
P. 19

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               เพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์นํ้านครนายก จํากัด เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ จากสํานักงานสหกรณ์จังหวัด เป็นผู้

               ประสานให้ข้อมูลโครงการเหล่านี้แก่สหกรณ์ฯ และเข้ามาช่วยจัดทําข้อเสนอโครงการ

                       ปัจจุบัน รัฐจัดสรรเงินทุนและให้ความสนับสนุนส่งเสริมการทํางานขององค์กรชุมชนหลายรูปแบบ เช่น

               นอกจากกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และสหกรณ์ ที่อยู่ในความดูแลของกรมส่งเสริมสหกรณ์แล้ว ยังมี
               วิสาหกิจชุมชน ซึ่งมีทั้งที่ไม่เป็นและเป็นนิติบุคคล อยู่ในความดูแลของกรมส่งเสริมการเกษตร มีกลุ่มสตรี กลุ่มหนึ่ง

               ผลิตภัณฑ์หนึ่งตําบล ที่ดูแลโดยกรมพัฒนาชุมชน และยังมี กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มุ่งส่งเสริมสถาบันการเงิน
               ระดับชุมชน มีสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ตลอดจน บรรษัทประกันสินเชื่อ

               อุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ช่วยคํ้าประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ของสถาบัน
               การเงินได้  ทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรยังให้สิทธิ์กู้ยืมแก่กลุ่มเกษตรกร ตลอดจนสามารถรับซื้อ

               เชคล่วงหน้าที่สหกรณ์รับมาจากโมเดิร์นเทรด เพื่อให้สหกรณ์สามารถมีสภาพคล่อง มีเงินจ่ายค่าสัตว์นํ้าให้แก่สมาชิกได้
               เร็วขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมี กองทุนพัฒนาเกษตรกร และกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรตามที่คณะกรรมการช่วยเหลือ

               เกษตรกรจัดสรรให้ หน่วยงานของรัฐควรรวบรวมข้อมูลข่าวสารแหล่งทุนสนับสนุนที่มีอยู่ และหนทางที่จะเข้าถึงแหล่ง
               ทุนเหล่านี้ เผยแพร่ให้แกองค์กรชุมชน รวมทั้งสหกรณ์ผู้เลี้ยงปลานิล ได้รับทราบและพิจารณาดําเนินการขอความ

               สนับสนุนที่เหมาะสมกับองค์กรของตนเอง


                       แนวทางการพัฒนาการด าเนินงานของสหกรณ์

                       สหกรณ์ควรให้บริการสมาชิกอย่างครบถ้วน เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีความสามารถในการผลิต ให้ความรู้

               แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเลี้ยงปลานิล คัดเลือกปัจจัยการผลิตที่มี

               คุณภาพมาขายให้สมาชิกในราคาที่เป็นธรรม ให้บริการรวบรวมผลผลิต หาตลาดรองรับผลผลิต ติดต่อผู้รับซื้อที่ให้ราคา
               ที่เป็นธรรม คุ้มต้นทุนการผลิต ช่วยให้สมาชิกสามารถมีกําไรและรายได้จากการเลี้ยงปลานิล ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร

               และให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลานิลแก่สมาชิก และทําหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
               ที่เกี่ยวข้อง เพื่อความร่วมมือกับทุกภาคส่วน


                       สหกรณ์จะมั่นคงได้หากสมาชิกมีผลผลิตโดยรวมในปริมาณที่มากพอที่สหกรณ์จะสามารถทําธุรกิจกับสมาชิก

               โดยสามารถมีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย สหกรณ์สามารถจัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการเลี้ยงปลานิล
               ให้แก่สมาชิก ดังที่สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์นํ้านครนายก จํากัด ทําโครงการเพิ่มผลผลิตให้แก่สมาชิก และ
               ส่งเสริมให้สมาชิกที่เลี้ยงปลานิลได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์ม ในกรณีของสหกรณ์ประมงพาน จํากัด สมาชิกมี

               ความสามารถในการเลี้ยงปลานิล และมีผลผลิตตามความต้องการรับซื้อ สหกรณ์พยายามส่งเสริมการแปรรูปเพื่อเพิ่ม

               มูลค่าของผลผลิต

                       เหตุผลสําคัญประการหนึ่งของการเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ คือสมาชิกต้องการให้มีการรวมกันเพื่อซื้อปัจจัยการ

               ผลิตที่มีคุณภาพได้ในราคาที่เป็นธรรม สหกรณ์ควรให้ความสําคัญแก่การให้บริการปัจจัยการผลิตตามควมต้องการของ
               สมาชิก ซึ่งบริการนี้ยังสามารถสร้างรายได้ให้แก่สหกรณ์







                                                           xix
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24