Page 55 -
P. 55

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       4-2





               สะอาดใหประชาชนในจังหวัดตางๆ ในป 2535 ในชวงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ไดมีการจัดตั้งกรมควบคุมมลพิษขึ้น
               จัดการและควบคุมน้ําเสีย ในชวงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ไดมีการจัดตั้งสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ
               และภูมิศาสตรสารสนเทศ ขึ้นเพื่อศึกษาและจัดทําฐานขอมูลภูมิสารสนเทศ ในป พ.ศ. 2543 ในชวง
               แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ในป พ.ศ. 2545 ไดมีการจัดตั้งกรมปองกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อรับผิดชอบการจัดการ
               ภัยแลงและอุทกภัยโดยเฉพาะการชวยเหลือประชาชน กรมทรัพยากรน้ําเพื่อจัดทํานโยบายและแผนการพัฒนาน้ํา

               ของประเทศ กรมทรัพยากรน้ําบาดาลเพื่อพัฒนาแหลงน้ําบาดาลมาใชเพื่อกิจกรรมตางๆ กรมอุทยานแหงชาติ
               สัตวปา และพันธุพืช ที่อนุรักษแหลงน้ํา โดยเฉพาะในเขตตนน้ําในเขตอุทยานแหงชาติและเขตรักษาพันธุสัตวปา
               สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ที่รับผิดชอบเรื่องสิ่งแวดลอมในการพัฒนา

               ทรัพยากรน้ํา โดยเฉพาะการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม (EIA) และการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมที่มี
               ผลตอชุมชนอยางรุนแรง ทั้งดานคุณภาพ สิ่งแวดลอม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ (EHIA) และองคการน้ํา
               เสียที่รับผิดชอบเรื่องการจัดการน้ําเสีย ในชวงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ในป พ.ศ. 2551 ไดมีการจัดตั้ง
               สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ําและการเกษตร ทําหนาที่ศึกษารวบรวมขอมูลที่สําคัญในการพยากรณน้ําเพื่อ

               การเกษตร ในชวงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไดมีการจัดตั้งสํานักนโยบายและบริหารจัดการน้ําและอุทกภัย (สบอช.)
               ในป 2555 ซึ่งปจจุบันทําหนาที่รวบรวมขอมูลใหกับคณะรักษาความสงบแหงชาติ และในป พ.ศ. 2556 ไดมี
               การจัดตั้งกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เพื่อจัดทําฝนเทียมเพิ่มน้ําในพื้นที่ตางๆ ของประเทศ ลําดับการ
               จัดตั้งหนวยงานตางๆ เหลานี้ไดแสดงถึงนโยบายของรัฐที่จะแกปญหาหลักทั้ง 3 ดาน คือ การขาดแคลนน้ํา

               อุทกภัย และคุณภาพน้ํา มาอยางตอเนื่อง
                       จากการทบทวนถึงแนวคิดในอดีตที่มีการเสนอใหจัดตั้งกระทรวงทรัพยากรน้ํา เพื่อเปนองคกรบริหาร
               ระดับนโยบาย ทั้งจากนักวิชาการและสถาบันวิชาการตางๆ รวมทั้งฝายการเมือง คือสภาผูแทนราษฎรนั้น
               คณะวิจัยไดวิเคราะหเรื่องนี้แลวพบวา นอกจากขอบเขตของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําที่กวางขวางไม

               สามารถครอบคลุมทุกภารกิจไดในกระทรวงเดียวกันแลว ยังพบวาอาจมีปญหาการประสานงานระหวาง
               หนวยงานในสังกัดกระทรวงเดียวกัน คณะวิจัยจึงมีความเห็นวาการจัดตั้งกระทรวงทรัพยากรน้ําไมเหมาะสมตอ
               บริบทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําในปจจุบัน ซึ่งมีขอมูลที่สนับสนุนแนวคิดดังกลาวนี้คือ ในการเสนอ (ราง)

               พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. .... โดยกรมทรัพยากรน้ํา และ (ราง) พระราชบัญญัติการบริหารจัดการ
               ทรัพยากรน้ํา พ.ศ. .... โดยสภาปฏิรูปแหงชาติ มิไดเสนอใหมีการจัดตั้งกระทรวงทรัพยากรน้ําแตอยางใด โดย
               (ราง) พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับไดเสนอใหมีองคกรบริหารระดับนโยบาย คือ “คณะกรรมการทรัพยากรน้ําแหงชาติ”
                       ถึงปจจุบันมีหนวยงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ําไทย มีจํานวน 29 หนวยงาน ภายใต 10 กระทรวง
               และองคกรปกครองสวนทองถิ่นซึ่งปฏิบัติภารกิจที่สําคัญ 15 ภารกิจ ทั้งในพื้นที่ตนน้ํา กลางน้ํา ปลายน้ํา และ

               ภารกิจสนับสนุน (ตารางที่ 4-1) จากการที่มีหนวยงานจํานวนมากซึ่งตางก็มีที่มาของอํานาจหรือกฎหมายที่ให
               อํานาจเฉพาะดาน การปฏิบัติงานจึงมีทั้งความซ้ําซอนและเกิดชองวางในการแกปญหา
                       อยางไรก็ตามนโยบายน้ําที่สําคัญประเด็นหนึ่งในเรื่องหนวยงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ําคือ “ไมมี

               หนวยงานทําหนาที่กําหนดนโยบายและแผนพัฒนาทรัพยากรน้ําเปนการเฉพาะและเปนกลาง” อยูในปจจุบัน
               ถึงแมวาจะมีแนวคิดในการศึกษาจากผูมีสวนไดเสียกลุมตางๆ ก็ตาม การขาดหนวยงานนโยบายกลางทําใหแต
               ละหนวยงานตางก็จัดทําแผนของตนเองซึ่งมีความซ้ําซอน และขาดการบูรณาการ ไมมีทิศทางของประเทศใน
               การพัฒนาทรัพยากรน้ําของประเทศในภาพรวม
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60