Page 52 -
P. 52

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                                    3-21



                              (3) การเปรียบเทียบนโยบายน้ําของรัฐบาลคณะที่ 60 กับรัฐบาลคณะที่ 61
                              การวิเคราะหเปรียบเทียบแผนการดําเนินงานของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ําและ
               อุทกภัย (กบอ.) ในรัฐบาลคณะที่ 60 กับแผนการดําเนินงานของคณะกรรมการกําหนดนโยบายและการ

               บริหารจัดการน้ํา (กนบ.) ในรัฐบาลคณะที่ 61 จะสรุปไดดังนี้
                                     (1) แผนงานของกนบ. มีขอบเขตงานแกปญหาอุทกภัย ภัยแลง และคุณภาพน้ํา
               ครอบคลุมเนื้องานมากกวา กบอ. ที่เนนเฉพาะเรื่องอุทกภัยเปนหลักเพราะในพ.ศ. 2557 เปนพ.ศ.ที่ฝนตกนอย น้ําแลง
                                     (2) แผนงานของกนบ. ครอบคลุมพื้นที่ลุมน้ําทั่วประเทศ กบอ. เนนลุมน้ํา

               เจาพระยาและลุมน้ําอื่นที่มีโครงการ ดังนั้น แผนงานของ กนบ. จึงมีพื้นที่ศึกษาทํางานมากกวาแผนงานของ กบอ.
                                     (3) แผนงานของ กนบ. จัดประชุมการมีสวนรวมของประชาชน สามารถรวบรวม
               ขอคิดเห็นมาเปนขอมูลเพื่อแกไขปญหาที่เกิดขึ้นในลุมน้ํา โดยการจัดการมีสวนรวมของประชาชนครอบคลุม
               ทุกภาค เพื่อจัดทําเปนโครงการและแผนงาน สวนงานและโมดูลของ กบอ. เปนการกําหนดแผนงานกอนแลว

               คอยจัดประชาพิจารณ จึงไดรับการตอตานจากประชาชน
                                     (4) แผนงานของ กนบ. กําหนดกรอบแนวคิด แนวทางแกไข กลยุทธและแผนงาน
               ยังไมมีโครงการเดนและเรงดวน สวน กบอ. กําหนดแผนงานและโครงการเพื่อแกไขปญหาอุทกภัยอยางชัดเจน
               มากกวา โครงการเหลานั้นจะมีการศึกษาความเหมาะสม การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดลอมในรายละเอียดตามมา

                                     (5) ระยะเวลาของการดําเนินแผนงานตามยุทธศาสตรของ กนบ. แบงเปน 3 ระยะ
               คือ ระยะเรงดวน/สั้น (พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2559) ระยะกลาง (พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564) และระยะยาว (พ.ศ. 2565 -
               พ.ศ. 2569) รวมทั้งสิ้น 12 ป โดยมีการกําหนดเปาหมายและหนวยงานรับผิดชอบไวอยางชัดเจน จึงนาจะมี

               ความเปนไปไดมากกวาแผนงานของ กบอ. ที่มีการกําหนดกรอบระยะเวลาดําเนินการใหแลวเสร็จภายใน 3 ถึง 5 ป

                      การขาดเอกภาพของนโยบายน้ํานั้นจึงสรุปไดวา มิไดเกิดจากสาระสําคัญของนโยบายแตละคณะ
               แตกตางกันโดยสิ้นเชิง ถึงแมวาจะมีการยกเลิกนโยบายน้ําที่รัฐบาลบางคณะไดกําหนดไว เชน แผนแมบทการ
               บริหารจัดการทรัพยากรน้ําของรัฐบาลคณะที่ 60 แตสาระสําคัญในนโยบายของรัฐบาลคณะตอมาคือคณะที่ 61

               ยังคงเชื่อมโยงกับวัตถุประสงคหลัก 3 ดาน ดังกลาวขางตน จะแตกตางกันในระดับความเขมขนของการ
               แกปญหาแตละดานเทานั้น เชน รัฐบาลคณะที่ 60 ไดเนนการแกปญหาอุทกภัย เพราะไดเกิดปญหาอุทกภัย
               อยางรุนแรงในป 2554 ซึ่งเปนชวงตนของการเขามาบริหารประเทศ แตรัฐบาลคณะที่ 61 ซึ่งไดจัดทํา
               ยุทธศาสตรขึ้นใหมที่ครอบคลุมปญหาทั้ง 3 ดานก็ตาม เนื่องจากในชวงตนของการเขามาบริหารประเทศได

               เกิดปญหาภัยแลงอยางรุนแรง จึงเนนการแกไขปญหาภัยแลงเปนอันดับแรก
                      อยางไรก็ตามยังมีนโยบายน้ําของรัฐบาลบางคณะบางเรื่องที่ไมสอดคลองกับรัฐบาลคณะอื่นๆ เชน
               เรื่องการชลประทานระบบทอ ที่กําหนดในชวงรัฐบาลคณะที่ 54 ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 23 กันยายน 2546

               และนโยบายที่รัฐบาลแถลงตอรัฐสภาของรัฐบาลคณะที่ 57 รวมทั้งการนําน้ําจากแหลงน้ํานานาชาติ เขามาใช
               ในประเทศไทยที่กําหนดโดยรัฐบาลคณะที่ 48 คณะที่ 49 และคณะที่ 50 แตไมปรากฎในนโยบายของรัฐบาล
               คณะอื่นๆ
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57