Page 22 -
P. 22
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง 21
ทิศทางพืชเศรษฐกิจไทยในอาเซียน
ดังนั้นจึงตกเป็นหน้าที่ของภาครัฐโดยเฉพาะกรมวิชาการเกษตรที่ต้องท�าทั้งการ
พัฒนาพันธุ์ การผลิตเมล็ดพันธุ์ และการส่งเสริมเพื่อกระจายพันธุ์ที่ดีสู่เกษตรกร
จึงไม่สามารถด�าเนินการได้อย่างทั่วถึง ท�าให้เกษตรกรต้องเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง
หรือซื้อจากพ่อค้าท้องถิ่น หรือจากเพื่อนบ้าน ซึ่งขาดเทคโนโลยีการผลิต และการ
เก็บรักษาอย่างถูกวิธีที่จะไม่ให้เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่มีน�้ามันและโปรตีนในเมล็ด
มากเสื่อมความงอกลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นปัญหาหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการ
ผลิตและคุณภาพของผลผลิตของประเทศ
การใช้ประโยชน์ถั่วเหลืองในประเทศไทยมีการใช้ทั้งในระดับครัวเรือนและ
อุตสาหกรรม ส�าหรับการใช้ในระดับชุมชน (ไม่มีข้อมูลเป็นทางการ) แต่มีการน�า
ไปใช้ท�าผลิตภัณฑ์อาหารในหลายรูปแบบ และหลากหลายมีจ�าหน่ายตามตลาด
ท้องถิ่นทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ถั่วเหลืองที่ผลิตในประเทศ ส�าหรับภาคอุตสาหกรรม
จะใช้ในอุตสาหกรรมสกัดน�้ามัน อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และอุตสาหกรรมอาหาร
มนุษย์ ทั้ง 3 กลุ่มอุตสาหกรรมมีความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองประมาณปีละ 2.33
ล้านตัน ซึ่งไม่รวมกับการน�าเข้ากากถั่วเหลือง โดยร้อยละ 81.23 ใช้ในโรงงานสกัด
น�้ามัน ร้อยละ 14.81 ใช้ในโรงงานอาหารสัตว์ และร้อยละ 3.95 ใช้ในโรงงาน
แปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร ในปริมาณถั่วเหลืองที่ใช้ทั้งหมดในปี 2556 ร้อยละ 90
เป็นถั่วเหลืองที่น�าเข้าจากประเทศที่ปลูกถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) ซึ่ง
มีปริมาณ 1.68 ล้านตัน จากสหรัฐอเมริกา บราซิล และอาร์เจนตินา คิดเป็นมูลค่า
31,323 ล้านบาท ส�าหรับข้อก�าหนดการน�าเข้าเมล็ดถั่วเหลืองในปี 2557 ซึ่งคณะ
รัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพืชน�้ามันและน�้ามันพืชเสนอ
โดยให้เปิดตลาดเสรีการน�าเข้าภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก ครั้งละ 3 ปี คือ
เปิดตลาดเสรีน�าเข้าไม่จ�ากัดปริมาณ และช่วงเวลาการน�าเข้า อัตราภาษีน�าเข้าใน
โควตาร้อยละ 0 นอกโควตา ร้อยละ 80 ส�าหรับแนวทางการบริหารการน�าเข้ามี
ผู้มีสิทธิน�าเข้า 7 สมาคม กับ 11 บริษัท และก�าหนดให้ผู้มีสิทธิน�าเข้าให้การสนับสนุน
และส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองภายในประเทศโดยให้มีการรับซื้อในราคาประกัน
ขั้นต�่า ซึ่งปัจจุบันมีปัญหามากส�าหรับพ่อค้าท้องถิ่นตามชายแดนติดกับประเทศ
เพื่อนบ้านที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มดังกล่าว จะต้องท�าหนังสือรับรองถิ่นก�าเนิดสินค้าฟอร์ม
ดี (Form D) ที่ยุ่งยากในการปฏิบัติในบางพื้นที่ แต่พ่อค้าท้องถิ่นที่อยู่ใน 11 จังหวัด
เป้าหมาย (ติดชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน) สามารถน�าเข้าได้ภายใต้ยุทธศาสตร์
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao
Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) แต่จะต้อง
ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภายใต้โครงการ Contract Farming กับจังหวัด
เป้าหมาย มีหนังสือรับรองแหล่งก�าเนิดสินค้าและใบรับรองสุขอนามัยประกอบการ