Page 93 -
P. 93

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                        89






                                                            บทที่ 9

                                          ความแปรปรวนในรูปรางของโครโมโซมแบบตาง ๆ

                                                (Variation in Chromosome Types)



                     9.1 คํานํา


                               โครโมโซมที่เราสังเกตเห็นไดในการแบงเซลลแบบไมโตซิสหรือไมโอซิส มักจะเปน

                     โครโมโซมที่มีรูปรางปกติ อยางไรก็ตามในสิ่งมีชีวิตบางชนิด บางกลุม หรือในเนื้อเยื่อพิเศษบางชนิด

                     เราอาจพบโครโมโซมที่ผิดปกติ ซึ่งโครโมโซมเหลานี้มีประโยชนอยางยิ่งตอการศึกษาเกี่ยวกับเซลล
                     พันธุศาสตร โดยจะชวยใหความกระจางในบางสิ่งบางอยางที่ไมอาจหาคําตอบไดจากโครโมโซมที่

                     พบเห็นตามปกติ โครโมโซมผิดปกติที่จะกลาวถึงเปนกลุมแรก คือ โครโมโซมที่มีขนาดผิดปกติ ซึ่ง

                     ไดแก โครโมโซมโพลีทีน (polytene chromosome)  และโครโมโซมแลมบรัช (lampbrush
                     chromosome) สวนอีกกลุมหนึ่งเปนโครโมโซมที่มีรูปรางผิดปกติ ไดแก โครโมโซมวงแหวน (ring

                     chromosome) โครโมโซมที่มีเซนโตรเมียรอยูตรงปลาย (telocentric  chromosome) โครโมโซมที่มี

                     แขนทั้งสองขางเหมือนกัน (isochromosome) และโครโมโซม-บี (B-chromosome)


                     9.2 โพลีทีนีและเอนโดโพลีพลอยดี


                               โพลีทีนี (polyteny) และเอนโดโพลีพลอยดี (endopolyploidy) เปนผลเนื่องมาจากการเกิด

                     เอนโดไมโตซิส (endomitosis) เอนโดไมโตซิส คือ กระบวนการเพิ่มจํานวนโครโมโซมขึ้นเทาตัวโดย

                     ไมมีการแบงนิวเคลียสและไซโตพลาสซึม  โดยถาโครโมโซมที่เพิ่มขึ้นอยูติดกันไมแยกออกจากกัน
                     เราเรียกวา  โพลีทีนี  ถาโครโมโซมที่เพิ่มขึ้นอยูแยกกัน  แตไมสงผานไปใหเซลลลูก  จึงทําใหจํานวน

                     โครโมโซมเพิ่มขึ้นเปนสองเทาตลอดเวลาที่มีการแบงเซลลแบบไมโตซิส กรณีนี้เราเรียกวา เอนโดโพ

                     ลีพลอยดี จากรูปที่ 9.1 สมมุติวามีเซลลดิพลอยดอยูหนึ่งเซลลซึ่งมีโครโมโซม 4 แทง (2n = 4) เมื่อ

                     เซลลนี้เกิดการแบงเซลลแบบเอนโดไมโตซิสแลวโครโมโซมไมแยกออกจากกัน เซลลที่เกิดขึ้นใหมนี้
                     จะมีจํานวนโครโมโซมคงเดิมไมเปลี่ยนแปลง (2n = 4) แตจํานวนโครมาติดของแตละโครโมโซมจะ

                     เพิ่มขึ้นจาก  2  เปน  4  และ  4  เปน  8, 16, 32  ตามลําดับ  เซลลดังกลาวนี้เรียกวา  โพลีทีนิค  เซลล

                     (polytenic cell) แตถาเปนเอนโดโพลีพลอยดี เซลล (endopolyploid cell) จํานวนโครโมโซมจะเพิ่มขึ้น
                     เปนสองเทา  (2n = 8)  แตจํานวนโครมาติดของแตละโครโมโซมยังคงเดิม  คือ  มี  2  โครมาติด

                     นอกจากนี้ยังมีการพบอีกวา  เอนโดโพลีพลอยดี  เซลลอาจมีการแบงเซลลแบบเอนโดไมโตซิสอีก  แต

                     โครโมโซมที่เพิ่มขึ้นไมแยกออกจากกัน จึงกลายเปนโพลีทีนิค เซลล
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98