Page 62 -
P. 62
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
58
5.7 เซกซ-ลิงเกจ
เซกซ-ลิงเกจ (sex linkage หรือ sex-linked gene) คือ กลุมของยีนที่มีตําแหนงอยูบน
โครโมโซมเพศ โดยเฉพาะอยางยิ่งยีนเหลานี้สวนมากจะอยูบนโครโมโซมเพศ-เอกซ ยีนสวนใหญที่
อยูบนโครโมโซมเพศจะเกี่ยวของกับการแสดงออกของลักษณะทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยา แต
การถายทอดลักษณะของยีนบนโครโมโซมเพศจะแตกตางไปจากยีนที่อยูบนโครโมโซมเซลลรางกาย
Morgan (1910) เปนคนแรกที่อธิบายถึงการถายทอดลักษณะที่ถูกควบคุมดวยยีนบน
โครโมโซมเพศ-เอกซในแมลงหวี่ โดยเขาพบแมลงหวี่ตัวผูพันธุกลาย (mutant) ที่มีตาสีขาว (w/Y ซึ่ง
ในที่นี้ Y คือ โครโมโซมเพศ-วาย) ในกลุมของแมลงหวี่ปกติซึ่งมีตาสีแดง (+/+) จากการผสมพันธุ
ระหวางแมลงหวี่ตัวผูผิดปกติที่มีตาสีขาวกับแมลงหวี่ตัวเมียตาสีแดง เขาพบการถายทอดลักษณะแบบ
ใหม ดังนี้ ลูกชั่วที่ 1 (F ) ทั้งหมดที่ไดมีตาปกติสีแดง (รูปที่ 5.3) และเมื่อลูกชั่วที่ 1 ที่เปนตัวเมียผสม
1
พันธุกับตัวผู ผลปรากฏวา ลูกชั่วที่ 2 (F ) ทั้งหมดมีการกระจายตัวของลักษณะตาสีแดงและตาสีขาว
2
ในอัตราสวน 3 : 1 ดังที่เขาคาดการณไวตามกฎการถายทอดลักษณะของเมนเดล แตอัตราสวน 3 : 1 นี้
ไมไดเกิดขึ้นเหมือนกันในแมลงหวี่ชั่วที่ 2 ที่เปนตัวเมียและตัวผู เขากลับพบวาแมลงหวี่ชั่วที่ 2 ที่เปน
ตัวเมียทั้งหมดมีตาสีแดง สวนตัวผูจํานวนครึ่งหนึ่งมีตาสีแดงสวนอีกครึ่งหนึ่งมีตาสีขาว Morgan จึง
สรุปวา แมลงหวี่พันธุกลายตาสีขาวเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยีนบนโครโมโซมเพศ-เอกซไมใชบน
โครโมโซมเซลลรางกาย (autosome) ยีนที่อยูบนโครโมโซม-เอกซจะไมถายทอดจากพอไปยังลูกชาย
เนื่องจากวาลูกชายไมมีโอกาสไดรับโครโมโซม-เอกซจากพอแตไดรับจากแมเทานั้น ดังนั้นลักษณะที่
ถูกควบคุมดวยยีนบนโครโมโซม-เอกซซึ่งแสดงออกในพอ จะถายทอดผานทางแมไปยังหลานชายซึ่ง
จะแสดงลักษณะออกมาอีกครั้งหนึ่ง การถายทอดลักษณะแบบนี้เรียกวา คริสครอส (crisscross pattern
of inheritance)