Page 179 -
P. 179
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
175
เทานั้นที่วางตัวไปทางขั้วเซลลทั้งสอง สวนเซนโตรเมียรอีก 2 อันวางตัวอยูตรงแนวกลางเซลล
(noncoorientation) ก็จะไดโครโมโซมที่เปนยูนิวาเลนตเกิดขึ้น ยูนิวาเลนตมักจะสูญหายไปหรือ
แบงตัวตามยาวในระยะอะนาเฟส ทําใหการกระจายตัวของโครโมโซมไปยังเซลลลูกผิดปกติ เซลล
สืบพันธุที่ไดจึงมีจํานวนโครโมโซมไมครบชุดหรือไมสมดุล (unbalanced gamete) จึงมักตาย
(inviable) ซึ่งเปนสาเหตุหนึ่งที่ทําใหพืชออโตเตตราพลอยดเปนหมัน อยางไรก็ตามเปอรเซ็นตการเปน
หมันยังต่ํากวาพวกทริพลอยด
ในมะเขือเทศเตตราพลอยด (2n = 4x = 48) ที่มนุษยสรางขึ้นผลิตละอองเกสรผูที่มีจํานวน
โครโมโซมผันแปรไปตั้งแต 24 ซึ่งพบมากที่สุดถึง 75 % ของละอองเกสรผูทั้งหมด สวนที่เหลือมี
จํานวนโครโมโซมนอยกวาหรือมากกวา 24 (ตารางที่ 16.3) พืชออโตเตตราพลอยดที่มนุษยสรางขึ้น
มักจะใหลูกสวนใหญเปนอะนูพลอยด เชน ขาวไรยเตตราพลอยดสายพันธุหนึ่งของรัสเซียใหลูกที่
เปนอะนูพลอยด 10.5 % คลอเบอร (red clover) ที่เปนเตตราพลอยดสายพันธุหนึ่งของสวีเดนใหลูกที่
เปนอะนูพลอยดถึง 35 % เปนตน
ตารางที่ 16.3 จํานวนโครโมโซม (n) ในละอองเกสรผูของมะเขือเทศที่เปนเตตราพลอยด
จํานวนเซลล
รายละเอียด จํานวน
ทั้งหมด
จํานวนโครโมโซม (n) 20 21 22 23 24 25 26 27 28
จํานวนเซลลที่สังเกตุ 2 1 14 36 285 31 8 2 1 380
เปอรเซ็นตเซลลที่มี
โครโมโซมจํานวนตาง ๆ 0.5 0.3 3.7 9.4 75.0 8.2 2.1 0.5 0.3
16.9 พันธุกรรมของออโตเตตราพลอยด
การถายทอดลักษณะของพวกออโตเตตราพลอยดสลับซับซอนมากกวาดิพลอยด ทั้งนี้
เพราะออโตเตตราพลอยดมีชุดโครโมโซมถึง 4 ชุด (4x) ยีนในแตละตําแหนงจะมี 4 อัลลีลแทนที่จะ
เปน 2 อัลลีลหรือหนึ่งคูดังเชนในพวกดิพลอยด ดังนั้นออโตเตตราพลอยดจึงมียีโนไทปไดถึง 5 แบบ
ซึ่งมีชื่อเรียกตามจํานวนยีนเดน ดังนี้
AAAA เรียกวา ควอดรุพเพลกซ (quadruplex) มียีนเดน 4 ตัว
AAAa เรียกวา ทริพเพลกซ (triplex) มียีนเดน 3 ตัว
AAaa เรียกวา ดุพเพลกซ (duplex) มียีนเดน 2 ตัว
Aaaa เรียกวา ซิมเพลกซ (simplex) มียีนเดน 1 ตัว
aaaa เรียกวา นัลลิเพลกซ (nulliplex) มียีนเดน 0 ตัว