Page 249 -
P. 249

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                     2-116




                                สาระสําคัญ/ขอเท็จจริงและขอกฎหมาย
                                กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมไดดําเนินการจัดทําคูฉบับแปล (ภาษาไทย)
                  ของประเด็นเตรียมการสําหรับประกอบการพิจารณาจัดทํารางปฏิญญาระดับรัฐมนตรีในการประชุม UNFF9 ซึ่ง

                  เสนอโดยสํานักงาน UNFF9 (Building Blocks for the UNFF9 Ministerial Declaration Proposed by the
                  UNFF9 Bureau) ซึ่งประกอบดวย 8 ประเด็น สรุปสาระสําคัญของแตละประเด็นไดดังนี้
                                        1. คุณคาอเนกประโยชนของปาไม/ปาไมเพื่อประชาชน มีเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาท
                  ของปาไมที่มีศักยภาพในการยังประโยชนใหแกสังคมโลก  บรรเทาปญหาผลกระทบดานตางๆ  โดยการ

                  จัดการปาไมอยางยั่งยืนจะนํามาซึ่งผลผลิต  และบริการที่  จําเปนในการสรางความเจริญรุงเรืองและการ
                  พัฒนาที่ยั่งยืน
                                        2.  เครื่องมือที่ไมผูกพันทางกฎหมายสําหรับปาไมทุกประเภทและวัตถุประสงค

                  ของโลกดานปาไม   มีเนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องมือที่ไมผูกพันทางกฎหมายสําหรับปาไมทุกประเภท   และ
                  วัตถุประสงคของโลกดานปาไม  ซึ่งหมายถึงขอตกลงในระดับนานาชาติที่ครอบคลุมมุมมองดานตางๆ  ที่
                  เกี่ยวของกับปาไม ซึ่งเปนบทบาทที่สําคัญภายใตการสนับสนุนของภาคีปาไมแหงสหประชาชาติ (UNFF) ที่
                  จะนําไปสู "การจัดการปาไมอยางยั่งยืน"
                                        3.  MOI.  ธรรมรัฐ  มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสนับสนุนประชาชนทองถิ่น  ชนพื้นเมือง

                  และสตรี  เขามามีสวนรวมในกระบวนการตัดสินใจ  การแบงปนผลประโยชน  และการอนุรักษขนบธรรมเนียม
                  ประเพณีและคุณคาทางสังคม  โดยผานกระบวนการจัดการปาไมอยางยั่งยืน  รวมถึงการสนับสนุนดานการเงิน
                  ใหแกประเทศกําลังพัฒนาหรือประเทศอื่นๆ

                                        4.  การเงิน  มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใหการสนับสนุนดานการเงินสําหรับการจัดการ
                  ปาไมอยางยั่งยืน  ซึ่งในขณะนี้  ยังมีไมเพียงพอ  จึงนับเปนอุปสรรคที่สําคัญยิ่งสําหรับการจัดการปาไมอยาง
                  ยั่งยืน โดยเฉพาะในหมูประเทศกําลังพัฒนา
                                        5.  ปปาไมสากล  มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสําคัญของปปาไมสากลซึ่งถือเปนโอกาส

                  พิเศษ  สําหรับการนําภาคปาไมมามีสวนใกลชิดกับภาคสวนตางๆ  ในสังคม  ตลอดจนกระตุนเตือนใหเห็นถึง
                  ความสําคัญตอบทบาทของปาไมในการยังประโยชนดาน  ตางๆ  ที่สามารถตอบสนองความตองการของ
                  สังคมไดเปนอยางดี
                                        6.  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  (Climate  change)  และการลดการ

                  ปลดปลอยกาซเรือนกระจกจากการทําลายปาและการเสื่อมโทรมของปาในประเทศกําลังพัฒนา  (REDD+)
                  มีเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทของภาคปาไมซึ่งมีสวนสําคัญในการบรรเทาและเพิ่มขีดความสามารถในการ
                  ปรับตัวตอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ       โดยการจัดการปาไมอยางยั่งยืนไดรับการยอมรับอยาง
                  กวางขวางในประเด็นดานความสามารถในการปรับตัว  รวมถึงคุณคาของภาคปาไมในการเปนแหลงกักเก็บ

                  คารบอนที่สําคัญ ทั้งนี้ การสนับสนุนดานการเงินตอกลไก REDD+ เปนสวนสําคัญอยางยิ่งตอโอกาสในการ
                  ไดรับการสนับสนุนทางการเงินของ ภาคปาไม
                                        7.  การประชุม  Rio+20  มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใหความสําคัญตอคุณคาที่
                  หลากหลายของภาคการปาไม ซึ่งเปนปจจัยสําคัญที่จะนําไปสูการพัฒนาที่ยั่งยืน และควรไดมีการนําไปปรับ

                  ใชในประเทศตางๆ  ภายใตมิติที่แตกตางกัน  โดยขึ้นอยูกับสภาพแวดลอม  ความจําเปนเรงดวน  และขีด
                  ความสามารถของแตละประเทศ เนนมาตรการดานคุณคาเพิ่ม (Added - value) โดยเฉพาะดานเครื่องมือ
                  ที่ไมผูกพันทางกฎหมายสําหรับปาไมทุกประเภท และวัตถุประสงคของโลกดานปาไม
   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254