Page 90 -
P. 90
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
80
ปริมาณน ้าจ านวนหนึ่งไหลซึมผ่านชั้น plow – pan ไปรวมกับน ้าใต้ดินที่อยู่ในระดับชั้น
subsoil หรืออยู่ใต้ชั้น subsoil มีผลท าให้ปุ๋ ยที่ละลายน ้าถูกไหลผ่านไปกับน ้าด้วย ซึ่งไม่
เพียงแต่ลดประสิทธิภาพการใช้น ้าของพืช แต่ขณะเดียวกันท าให้ผลผลิตพืชลดลงด้วย
ส่วนแปลงปลูกพืชไร่ เกษตรกรไม่ต้องการดินชั้น plow – pan เขาจะต้องพยายามไถ
ท าลายดินชั้นนี้ ทั้งนี้ดินชั้น plow – pan จะกั้นไม่ให้รากพืชแทงลงไปในชั้นดินส่วนลึกได้
พืชไร่ส่วนมากมีระบบรากลึก ไม่เหมือนข้าวมีระบบรากตื้น รูป 4.1 แสดงให้เห็นสภาพ
พื้นที่เกษตรกรรมท านาและพื้นที่ปลูกพืชไร่
รูป 4.1 ความแตกต่างแปลงพืชไร่และแปลงนาข้าว
(Sakai, 1999)
4.2 การอัดตัวของดิน (Soil compaction)
การอัดตัวของดินเป็นขบวนการที่เกิดการลดลงของความพรุน (porosity) และการ
ไหลซึมผ่านของน ้าในดิน (permeability) มีผลท าให้ความแข็งแรงดิน (soil strength) เพิ่ม
ขึ้น ทั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในโครงสร้างดิน อนุภาคของแข็งถูกบีบให้
ชิดกันหรือการลดลงของช่องว่างระหว่างอนุภาค การอัดตัวเป็นผลมาจากสาเหตุทาง
ธรรมชาติ เช่น การตกกระทบของเม็ดฝน ดินที่มีน ้าขังภายในช่องว่าง แรงดึงของน ้า
ภายใน (internal water tension) ส่วนสาเหตุทางกลเป็นแรงกดของเครื่องจักรกลเกษตร