Page 77 -
P. 77

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                             67








                  3.5  การทดสอบความแข็งแรงของดินในแปลงทดลอง

                         การทดสอบความแข็งแรงเฉือน  (shear strength)  ของดินในแปลงทดลองต่างจาก

                  การทดสอบในห้องปฏิบัติการ   ประโยชน์ที่ได้จากการทดสอบในแปลงทดลองคือ   การ

                  ทดสอบท าได้รวดเร็วและไม่สิ้นเปลืองมาก   ดินที่ถูกทดสอบก็อยู่ในสภาวะธรรมชาติมาก
                  ที่สุด   แต่อย่างไรก็ตามการทดสอบในแปลงทดลองไม่สามารถควบคุมค่าความเค้นของแรง

                  กระท าได้

                         เครื่องมือสามชนิดแรกในรูป 3.17  (ก) , (ข) และ (ค)   เป็นเครื่องมือที่ใช้หลักการ
                  เฉือนดินโดยใช้ grouser blades  แทงจมผ่านผิวหน้าดินลงไป    หรือไม่ก็ขุดหลุมลึกลงไปใน

                  ดินตามความลึกที่ต้องการ    และใช้ grouser blades แทงจมผ่านผิวหน้าดินก้นหลุม    หลังจาก

                  นั้นเครื่องมือ annular shear plate  และเครื่องมือ sheargraph  จะถูกหมุนด้วยมือหรือพลังงาน

                  กลโดยแรงบิด T   ค่าความเค้นเฉือน (shear stress)  เฉลี่ยที่กระท ากับดิน  ณ   ต าแหน่งพื้นที่
                  วงแหวนสัมผัสดินก็สามารถค านวณหาค่าได้จากค่าทอร์ก  (torque)   ที่กระท าต่อดินหารด้วย

                  พื้นที่สัมผัสของวงแหวนที่กระท าต่อผิวดิน   จะได้ค่าทอร์กสูงสุดที่ดินรับได้ค่าต่างๆกัน

                  เมื่อใช้ค่าความเค้นในแนวดิ่ง  (vertical stress)   ค่าต่างๆกัน   จากนั้นเขียนกราฟแสดง
                  ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเค้นในแนวดิ่งและค่าความเค้นเฉือนสูงสุด   และหาค่าความ

                  เชื่อมแน่นของดิน  C  และ  มุมเสียดทานภายในของดิน     ได้เช่นเดียวกับวิธีการ

                  ทดสอบ   direct shear
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82