Page 74 -
P. 74
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
64
เพื่อหาค่าพารามิเตอร์ความแข็งแรง (strength parameter) ของดิน การทดสอบแรง
เฉือนดินตัวอย่างจะถูกท าโดยวิธีการเช่นเดียวกับวิธีการทดสอบ direct shear กรณีตัวอย่าง
ทดสอบเป็นทราย ตัวอย่างที่ใช้ทดสอบสามารถถูกน ามาใช้ได้อีกส าหรับการทดสอบครั้ง
ต่อๆไป ทั้งนี้ถ้าตัวอย่างที่ใช้ทดสอบถูกรักษาไว้ในสภาพเงื่อนไขความหนาแน่นเดียว
กัน ส าหรับการทดสอบทุกครั้ง อย่างไรก็ตามกรณีดินเหนียว (clay) ต้องทดสอบโดยใช้
ตัวอย่างที่เปลี่ยนไป แต่ทั้งนี้ทุกตัวอย่างที่ใช้ทดสอบต้องมีสภาพเหมือนกันมากที่สุดเท่าที่
จะท าได้
ระหว่างการทดสอบแรงเฉือนแต่ละครั้ง การเปลี่ยนรูปในแนวดิ่ง (vertical
deformation) ของตัวอย่างดินสามารถวัดค่าได้ โดยการเคลื่อนที่ลงของก้านลูกสูบ
ส าหรับการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของตัวอย่างดิน สามารถหาได้จากตัวอย่างดินอิ่มตัว
ด้วยน ้า (saturated soil) ทั้งนี้สังเกตได้จากปริมาณน ้าระหว่างช่องว่างอนุภาคดิน (pore
water) จะถูกแรงกดดันให้ไหลผ่านหลอดแก้ว แต่ทั้งนี้เป็นไปได้ยากมากที่จะหาการ
เปลี่ยนแปลงปริมาตรตัวอย่างดิน ในกรณีที่ตัวอย่างดินไม่อยู่ในสภาพที่อิ่มตัวด้วยน ้า
(unsaturated soil)
แรงกระท าในแนวดิ่ง P จะเพิ่มค่าขึ้นเรื่อยๆ หรือเพิ่มในลักษณะเป็ นขั้นๆ
1
จนกระทั่งมีค่ามากที่สุด หรือจนกระทั่งตัวอย่างดินเริ่มเกิดการวิบัติพร้อมกับลักษณะการ
เปลี่ยนรูปในแนวดิ่งเกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็เห็นรอยแตกได้ชัด ภายหลังจากการทดสอบที่
ระดับค่าความดันของของเหลวภายในเซล (fluid confining pressure) เปลี่ยนแปลง
3
หลายค่า ความเค้นหลักสูงสุด (major principal stress) และความเค้นหลักต ่าสุด
1
(minor principal stress) และ สามารถหาค่าได้ที่เงื่อนไขขณะการวิบัติของดิน
3
2
ตัวอย่าง ค่าความเค้นที่ได้เหล่านี้สามารถใช้เพื่อสร้างวงกลมมอร์ (Mohr’s circle) ส าหรับ
การทดสอบแต่ละชุดดังแสดงในรูป 3.15 ดังนั้นพารามิเตอร์ความแข็งแรงของดิน ค่าความ
เชื่อมแน่น C และค่ามุมเสียดทานภายใน สามารถหาค่าได้โดยวิธีลากเส้นขอบเขตแสดง
การวิบัติ (failure envelope) ผ่านวงกลมเหล่านี้