Page 23 -
P. 23
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
13
ทราบปริมาตรแน่นอนลงในภาชนะ จนถึงเครื่องหมายแสดงค่าปริมาตร ทั้งนี้เป็นสภาวะ
ของของเหลวที่ใช้ทดลองจะเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างช่องว่างอนุภาคดิน
อนุภาคดินเหนียวมีค่าความถ่วงจ าเพาะอนุภาคในช่วง 2.2 – 2.6 แร่ควอตซ์มีค่า 2.5
– 2.8 และฮิวมัส (humus) มีค่าประมาณ 1.37 ค่าความถ่วงจ าเพาะอนุภาคทั่วไปเท่ากับ
2.65 Niyamapa and Salokhe (1993) รายงานค่าความถ่วงจ าเพาะอนุภาคเท่ากับ 2.53 ในดิน
ร่วนปนทราย (sandy loam) จากแปลงเกษตรกรรมท านาข้าวในประเทศญี่ปุ่น ดินในแปลง
ประกอบด้วย อนุภาคทรายหยาบ 10 % อนุภาคทรายละเอียด 40 % อนุภาคทรายแป้ง 42 %
และอนุภาคดินเหนียว 8 % Usaborisut et al. (2001) ทดสอบดินตัวอย่าง Bangkok clayed
soil โดยใช้เครื่องมือ cyclic torsional shear loading test ดินที่ใช้ทดสอบถูกเก็บจากแปลง
ปลูกอ้อยในอ าเภอก าแพงแสน จังหวัดนครปฐม ค่าความถ่วงจ าเพาะอนุภาค เท่ากับ 2.62
ดินประกอบด้วย อนุภาคทราย 25.6 % อนุภาคทรายแป้ง 12.9 % และอนุภาคดินเหนียว
61.5 %
(ข) ความหนาแน่นรวมสภาพแห้ง (dry bulk density), b
b = M s / V t
+ V a + V w )
= M s / (V s
ความหนาแน่นรวมสภาพแห้ง เป็นค่าอัตราส่วนมวลสภาพแห้งของดิน (M s) ต่อค่า
ปริมาตรรวมทั้งหมด (total volume) (V t) ปริมาตรรวมของดินหมายถึงปริมาตรของ
อนุภาคแร่ในดิน (soil mineral) และอนุภาคอินทรียวัตถุ รวมกับปริมาตรช่อง (pore space)
ระหว่างอนุภาคแร่ในดินกับอนุภาคอินทรียวัตถุ ปริมาตรช่องเป็นที่อยู่ของน ้าและอากาศ
ในสภาวะสมดุลปริมาตรช่องที่มีขนาดโตจะเป็นที่อยู่ของอากาศ ปริมาตรช่องที่มีขนาดเล็ก
เป็นที่อยู่ของน ้า การวัดสถานะของของแข็งกับการกระจายปริมาตรช่องของดิน เป็นค่าที่
แสดงความหนาแน่นรวมสภาพแห้ง หน่วยที่ใช้คือ กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ตันต่อ
ลูกบาศก์เมตร จะสังเกตเห็นได้ว่า ค่า b มีค่าน้อยกว่าค่า s และเมื่อปริมาตรช่องมีขนาด