Page 22 -
P. 22
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
12
M w : มวลน ้าในดิน
M s : มวลของแข็ง
M t : มวลรวม
(ก) ความหนาแน่นอนุภาค (density of solids หรือ particle density), s
s = M s / V s
ความหนาแน่นอนุภาค เป็ นค่าอัตราส่วนมวลสภาพแห้งของดิน (M s) ต่อค่า
ปริมาตรส่วนของแข็ง (V s) โดยทั่วไปความหนาแน่นอนุภาคมีค่า 2.6 – 2.7 g/cm ( Daniel,
3
1980) ใกล้เคียงค่าความหนาแน่น (density) ของแร่ควอตซ์ (quartz) แร่เหล็กอ๊อกไซด์ (iron
oxides) และแร่โลหะหนัก (heavy minerals) หลายชนิด มีค่าความหนาแน่นสูงกว่าค่าความ
หนาแน่นอนุภาค ส่วนค่าความหนาแน่นของอินทรียวัตถุ มีค่าต ่ากว่าค่าความหนาแน่น
อนุภาค ในบางกรณีค่าความหนาแน่นอนุภาคจะแสดงในเทอมของค่าความถ่วงจ าเพาะ
อนุภาค (specific gravity of solids) นั่นคือค่าความถ่วงจ าเพาะอนุภาค หมายถึง ค่า
อัตราส่วนระหว่างค่าความหนาแน่นอนุภาค ต่อค่าความหนาแน่นของน ้าที่อุณหภูมิ 4 C
ความดันบรรยากาศ (atmospheric pressure) ในระบบเมตริก (metric system) ค่าความ
หนาแน่นของน ้าที่ ณ อุณหภูมิมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 1 นั่นคือค่าความถ่วงจ าเพาะอนุภาคใน
เชิงตัวเลขมีค่าเท่ากับค่าความหนาแน่นอนุภาค
ความถ่วงจ าเพาะอนุภาค (Specific gravity of solids)
อนุภาคอาจจะรวมถึง ก้อนกรวด (gravel) อนุภาคทราย อนุภาคทรายแป้ง อนุภาค
ดินเหนียว และอินทรียวัตถุ มีวิธีหลัก 2 วิธีที่ใช้ส าหรับวัดค่าความถ่วงจ าเพาะอนุภาค วิธี
แรกคือ water pycnometer ตาม ASTM D854 – 91 และวิธีที่ 2 คือ air pycnometer
(ASAE,1994) หลักการวัดของทั้งสองวิธีคือใส่ดินอบแห้ง (oven – dried soil) ในภาชนะที่
ทราบค่าปริมาตรจากการปรับเทียบปริมาตร (calibrated volume) จากนั้นเทของเหลวที่