Page 13 -
P. 13
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3
(Kawamura, n.d.) อุปกรณ์ส่วนประกอบหลักของเครื่องมือจะหมุนท างานได้โดยอาศัยก าลัง
ขับโดยตรงจากเครื่องยนต์ ตัวอย่างเช่น เครื่องมือไถจอบหมุนติดรถไถเดินตาม (rotary
power tiller) ความเร็วรอบหมุนเพลาโรเตอร์ (rotor) และความเร็วการเคลื่อนที่ของรถ
ขึ้นกับชนิดของดินเป็นส าคัญ เป็นต้นว่า เงื่อนไขการท างานในดินประเภทดินทราย (sand)
หรือดินอ่อนนุ่มเปียก (wet soft soil) ค่าความเร็วรอบหมุนเพลาโรเตอร์ 150 – 200 rpm
ความเร็วการเคลื่อนที่รถ 0.5 – 0.7 m/s ดินธรรมดาหรือดินเหนียว (common or sticky
soils) ค่าความเร็วรอบหมุนเพลาโรเตอร์ 200 – 300 rpm ความเร็วการเคลื่อนที่ของรถ 0.3
– 0.5 m/s ดินเหนียวมากหรือดินแข็ง (very sticky or hard soil) ความเร็วรอบหมุน
เพลาโรเตอร์ 300 – 400 rpm และความเร็วการเคลื่อนที่ของรถ 0.2 – 0.3 m/s (Sakai,1999)
Sakai (1999) กล่าวว่า ความเร็วรอบหมุนโรเตอร์มีค่ามากกว่า 400 rpm ไม่สามารถใช้
ปฏิบัติงานได้ ทั้งนี้เพราะว่าเครื่องมือไถจอบหมุนอาจจะแตกหักเสียหายได้ ขณะเดียวกัน
ความเร็วรอบที่สูงของโรเตอร์จะท าให้ดินถูกโยนไปด้านหลังได้ไกลและมีขนาดก้อนดินเล็ก
เกินไป Gotoh และคณะ (2004) พัฒนาเครื่องมือไถจอบหมุนชนิดใช้ต้นก าลังจากรถ
แทรกเตอร์ 4 ล้อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถท างานได้ที่ความเร็วการท างานสูง
กว่าปกติ และต้องการลดพลังงานที่ต้องการใช้ลงในขณะที่ได้คุณภาพงานเหมือนกับ
เครื่องมือไถจอบหมุนมาตรฐาน (conventional rotary tiller) ที่ใช้งานทั่วไป การทดสอบ
เครื่องมือถูกท าที่ความเร็วสูง ความเร็วการเคลื่อนที่ของรถ 0.7 – 1.7 m/s ความเร็วรอบ
หมุนโรเตอร์ 160 – 330 rpm จากผลการทดลองในแปลงนาข้าวคณะผู้วิจัยพบว่า การ
จัดเรียงใบมีดในลักษณะการตัดดิน 2 ครั้งใน 1 รอบการหมุนของโรเตอร์ มีความ
เหมาะสมมากกว่าการจัดเรียงใบมีดให้ตัดดิน 3 ครั้งใน 1 รอบการหมุนของโรเตอร์ ทั้งนี้
เพราะว่าก้อนดินจะไม่สะสมเกาะติดบนโรเตอร์เมื่อติดใบมีด 2 ใบ แต่จะมีดินสะสม
เกาะติดบนโรเตอร์ เมื่อจัดเรียงใบมีดให้ตัดดิน 3 ครั้ง ใน 1 รอบการหมุนของโรเตอร์โดย
ติดใบมีด 3 ใบ นอกจากนี้การเพิ่มความกว้างการตัดดินของใบมีดยังสามารถลดก าลังที่
ต้องการใช้ (power requirement) ขณะเดียวกันการปรับปรุงสมรรถนะการย่อยก้อนดิน
(soil pulverizing performance) สามารถถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ โดยใช้ใบมีดที่มีขนาดกว้าง
และเพิ่มมุมตัด (cutting angle) ของใบมีดจอบหมุน Niyamapa and Salokhe (2000) ท าการ