Page 11 -
P. 11

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                              1









                                                     บทที่ 1

                  ผลของดินและความเร็วการออกแรงกระท าต่อดินของเครื่องมือไถ


                  พรวนดิน(Tillage machinery)



                  1.1 สภาพแวดล้อมภายนอก (Outdoor  environment)
                            Krutz, Thompson and Claar, 1984  เขียนหนังสือ Design  of  Agricultural  Machinery

                  เนื้อหาส่วนใหญ่เขียนเกี่ยวกับศิลปะทางวิศวกรรมการออกแบบ (art  in  engineering design)

                  เครื่องจักรกลเกษตร  ทั้งนี้ไม่ได้กล่าวถึงการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม
                  ภายนอก (outdoor  environment) เป็นต้นว่า  ตัวแปรสภาพของดินการเกษตรที่เปลี่ยนแปลง

                  ไปในแต่ละท้องถิ่น    สภาพของพืชที่ถูกเก็บเกี่ยว    ลักษณะของพืชหลังเก็บเกี่ยว

                  นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2539   สุรินทร์  พงศ์ศุภสมิทธิ์    เขียนไว้ในหนังสือวิศวกรรมรถไถเดิน

                  ตาม ว่าหลักการพิจารณาออกแบบรถไถเดินตามจะเริ่มจากสภาพแวดล้อมซึ่งประกอบด้วย
                  ชนิดและลักษณะการเตรียมดินปลูกพืช   ความแข็งแรงของดิน   อุณหภูมิ   และสภาพภูมิ

                  ประเทศ แต่เขาไม่ได้เขียนรายละเอียดไว้    จากประสบการณ์ของผู้เขียนเคยท าการทดลอง

                  เครื่องมือไถดินชนิดสั่น (vibrating tillage tool) (Niyamapa and Salokhe, 2000)  ผาลตัดดิน
                  รูปร่างตัววี (V – shaped share) การทดลองท าในสภาพแปลงนาข้าว (paddy field) ภายหลัง

                  จากการเก็บเกี่ยวแล้ว   ดินในแปลงชนิดดินร่วนปนทราย (sandy loam)  ความชื้นดิน 43.2 %

                  (db)   ความหนาแน่นรวมสภาพแห้ง (dry  bulk density) 1.03 g/cm   และความต้านทานการ
                                                                          3
                  แทงทะลุรูปกรวย (cone  penetration  resistance) ในดิน 467  kPa   ขณะที่ดินในแปลงมี
                  สมบัติค่าขีดจ ากัดพลาสติก (plastic  limit) 28.2 % (db)   และค่าขีดจ ากัดความเหลว (liquid

                  limit) 38.0 % (db)   จากข้อสังเกตจะเห็นว่าท าไมรถแทรกเตอร์ (tractor) ต้นก าลังที่ใช้ฉุด

                  ลากเครื่องมือไถดินชนิดสั่น   จึงสามารถท างานในแปลงที่ดินมีความชื้นสูงถึง 43.2 %(db)
                  ซึ่งสูงกว่าค่าขีดจ ากัดพลาสติกและค่าขีดจ ากัดความเหลวเสียอีก ทั้งนี้เพราะว่าสภาพแปลง

                  นาข้าวในประเทศญี่ปุ่นขณะเก็บเกี่ยวข้าว   ฟางข้าวจะถูกสับเป็นชิ้นขนาดเล็กและถูกพ่นลง

                  มาในแปลงเพื่อเพิ่มวัสดุอินทรีย์ (organic material) ในดิน  ดังนั้นความชื้นดินในแปลงจึง
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16