Page 87 -
P. 87
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 69
v w v
พลังงานดังกล่าวนี้ถูกน าไปใช้ในการคายน ้าและระเหยน ้า (evapotranspiration, L E ) ใช้
ในการเพิ่มอุณหภูมิของอากาศ (sensible heat, H ) และเก็บสะสมไว้ในดิน (soil heat flux, G)
s
พลังงานเหล่านี้เป็นพลังงานสุทธิของพลังงานช่วงคลื่นสั้นและพลังงานช่วงคลื่นยาวที่ถูกน าไปใช้ใน
กิจกรรมต่างๆ เพื่อคงไว้ซึ่งความสมดุลของระบบอุทกวิทยา ดังความสัมพันธ์
E = H + L E + G
s
n
v w v
เมื่ออากาศใช้พลังงานสุทธิเพื่อการคายน ้าและระเหยน ้าจนเกือบหมด เนื่องจากพื้นที่
บริเวณนั้นมีแหล่งน ้าหรือมีต้นไม้มาก พลังงานส่วนที่เหลือจึงถูกน าไปใช้ท าให้อากาศมีอุณหภูมิ
สูงขึ้นและบางส่วนถูกเก็บสะสมไว้ในดินเพียงเล็กน้อย (ถ้ามีเรือนยอดของต้นไม้ปกคลุมและอาจ
ไม่ถูกเก็บสะสมไว้เลยเมื่อเป็นพื้นที่แหล่งน ้า) จึงท าให้อุณหภูมิของอากาศสูงขึ้นจากปกติเพียง
เล็กน้อย
เมื่อพลังงานช่วงคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ พลังงานช่วงคลื่นยาวจากบรรยากาศและพลังงาน
ช่วงคลื่นยาวจากพืชพรรณ จากดิน และจากหิน แผ่กระจายสู่แหล่งน ้า พืชพรรณ บรรยากาศ ดิน
และหิน ในกรณีของแหล่งน ้าพลังงานดังกล่าวจะถูกน าไปใช้เพื่อการระเหยน ้าจากแหล่งน ้าเป็นส่วน
ใหญ่ พลังงานส่วนที่เหลืออีกบางส่วนจะถูกใช้เพื่อคงความอบอุ่นของอากาศซึ่งจะท าให้อากาศมี
อุณหภูมิสูงขึ้นอีกเล็กน้อย หรืออาจไม่สูงขึ้นกว่าเดิมเนื่องจากพลังงานส่วนที่เหลือนี้เป็นพลังงาน
เพียงส่วนน้อย
ในกรณีที่พื้นที่รอบแหล่งน ้าเป็นป่าเต็งรังซึ่งมีเรือนยอด (crown cover) ปกคลุมไม่หนาแน่น
มีไม้พื้นล่าง (ground cover) ปกคลุมเพียงเล็กน้อย พื้นดินส่วนใหญ่เปิดโล่ง ดินขาดความร่วนซุย
หน้าดินตื้นและมีหินโผล่ในบางบริเวณ พื้นที่เหล่านี้ไม่มีน ้าเก็บไว้ในดิน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เชิงเขา
ที่ต่อเนื่องลงมาสู่พื้นที่ลอนลาด และพื้นที่ราบซึ่งส่วนใหญ่เป็นนาข้าว เมื่อพื้นที่ป่ าเต็งรังมีน ้าไม่
พอที่ส าหรับการคายน ้าจากพืชและการระเหยน ้าจากพื้นดิน พลังงานส่วนใหญ่จึงไม่ถูกใช้เพื่อการ
คายน ้าและระเหยน ้า แต่เหลือเก็บไว้ในดินและท าให้อากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น พลังงานช่วงคลื่นยาว
ที่ถูกคายออกจากพื้นดินจึงมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม อุณหภูมิของอากาศบริเวณป่าเต็งรังจึง
ค่อนข้างสูง พื้นที่โดยรอบอ่างเก็บน ้ามักเป็นป่ าเต็งรัง ดังนั้นเมื่อน ้าระเหยจากแหล่งน ้าจะท าให้
อากาศมีความชื้นเพิ่มขึ้นแต่อากาศบริเวณโดยรอบอ่างเก็บน ้านั้นค่อนข้างร้อนเนื่องจากเป็นอากาศ
บริเวณป่าเต็งรัง แม้ว่าจะสูญเสียพลังงานบางส่วนใช้ในการระเหยน ้าจากอ่างเก็บน ้า ด้วยเหตุนี้
อากาศโดยรอบบริเวณอ่างเก็บน ้าที่ห้อมล้อมโดยป่าเต็งรังจึงค่อนข้างร้อนและอบอ้าว
ในกรณีที่พื้นที่ลุ่มน ้าตอนบนเหนืออ่างเก็บน ้าเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา ซึ่งมีเรือน
ยอดปกคลุมไม่น้อยกว่า 70% และมีไม้พื้นล่างปกคลุมค่อนข้างหนาแน่น สภาพดินในป่าเหล่านี้มี
สภาพร่วนซุย หน้าดินลึกมีความชื้นสูงและสามารถเก็บน ้าไว้ในดินได้มาก พลังงานช่วงคลื่นสั้นจาก
ดวงอาทิตย์ส่วนใหญ่ถูกใช้ไปในการคายน ้าจากใบไม้แต่ละชั้นที่จัดเรียงสลับซับซ้อนกันในทิศทาง