Page 242 -
P. 242
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
224 มวลอากาศและแนวปะทะอากาศ ฤดูกาล ภูมิอากาศและภูมิอากาศโบราณ
น ้าแข็งอย่างยาวนานจนกระทั่งน ้าทะเลลดระดับลงไปจากระดับน ้าทะเลปัจจุบันถึง 120 เมตร ผืน
แผ่นดินที่เคยอยู่ใต้ทะเลจึงปรากฏออกมารับพลังงานจากดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นพร้อมกับแผ่กระจาย
พลังงานในช่วงรังสีความร้อนแก่อากาศบนผิวโลกที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น
เนื่องจากมีไฟป่าเกิดขึ้นมากเพราะอากาศบริเวณศูนย์สูตรจะค่อนข้างแห้งแต่ร้อน มีความชื้นใน
อากาศน้อย สภาพปรากฏการณ์เรือนกระจกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรงตลอดช่วงเวลาหลาย
ร้อยปีท าให้หิมะละลายอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งระดับน ้าทะเลเพิ่มขึ้นเกินระดับน ้าทะเลปัจจุบัน
การก าเนิดยุคน ้าแข็งและน ้าท่วมสอดคล้องกับการค านวณของมิลานโควิทซ์ ซึ่ง
ยืนยันความถูกต้องของผลการค านวณได้จากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในยุคน ้าแข็งและยุค
น ้าท่วมโดยการวิเคราะห์อายุของตะกอนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสะสมตะกอนในยุคน ้าท่วมและ
ยุคน ้าแข็งดังกล่าว
จากการวิเคราะห์อายุของตะกอนโดยวิธีคาร์บอน-14 เพื่อศึกษาระดับน ้าทะเลใน
ประเทศไทยในอดีต ท าให้ทราบว่า เมื่อประมาณ 41,000 ปีที่ผ่านมา ระดับน ้าทะเลในภูมิภาคนี้คง
ระดับอยู่ที่ +12 เมตร เมื่อเปรียบเทียบกับระดับน ้าทะเลในปัจจุบัน สภาพภูมิอากาศร้อนและชุ่มชื้น
แกนโลกค่อนข้างเอียง ต่อมามีเหตุการณ์ที่ท าให้เกิดการเริ่มต้นของยุคน ้าแข็งดังได้กล่าวมาแล้วจึง
ท าให้มีการระเหยน ้าจากเขตศูนย์สูตรแล้วลอยขึ้นไปควบแน่นที่ระดับสูงขึ้น จากนั้นถูกกระแสลม
พัดพาไปยังเขตขั้วโลกแล้วตกลงมาเป็นหิมะ จึงปรากฏหลักฐานว่ามียุคน ้าแข็งใหญ่ที่สุดครั้ง
สุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 18,000 ปีที่ผ่านมา ท าให้ระดับน ้าทะเลทั้งโลกลดลงจากระดับน ้าทะเล
ในปัจจุบันประมาณ 120 เมตร ด้วยสาเหตุดังกล่าวระดับน ้าทะเลถดถอยจากอ่าวไทยและบริเวณ
ทะเลจีนใต้ระหว่างเวียตนามและฟิลิปปินส์ไปยังบริเวณอ่าวตังเกี๋ย
จากข้อมูลหลุมเจาะการส ารวจน ้ามันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย บริเวณแอ่ง
ปัตตานีซึ่งอยู่ในอ่าวไทยมีระดับความลึกของพื้นทะเล -70 เมตร พบว่า ที่ระดับความลึก -75 เมตร
ซึ่งอยู่ต ่ากว่าความลึกของพื้นทะเลปัจจุบันประมาณ 5 เมตร มีเศษซากพรรณไม้ป่าชายเลนฝังตัว
สะสมอยู่และอายุของชั้นตะกอนนี้วัดได้ประมาณ 11,000 ป ี แสดงว่า ระดับน ้าทะเลเพิ่มขึ้นจาก
ระดับ -120 เมตร เมื่อ 18,000 ปีที่ผ่านมา เป็น –75 เมตร เมื่อ 11,000 ปีที่ผ่านมา
จากการวัดอายุของเศษซากหอยที่วัดเจดีย์หอย อ าเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัด
ปทุมธานี พบว่ามีอายุประมาณ 5,720 ปี และการวัดอายุของชั้นดินตะกอนจากบึงแก่นนคร จังหวัด
ขอนแก่น ได้อายุของตะกอนดังกล่าวประมาณ 6,000 ปี และจากการพบชายหาดโบราณที่ระดับ 4
เมตร ที่อ าเภอบางไทร จังหวัดอยุธยา จึงสามารถสรุปได้ว่าระดับน ้าทะเลเพิ่มขึ้นเนื่องจากน ้าแข็ง
ละลายจนถึงระดับ +4 เมตร เมื่อ 6,000 ปีที่แล้วมา และระดับน ้าลดลงเหลือ +2 เมื่อ 3,000 ปีที่
ผ่านมาจนถึงระดับน ้าทะเลในปัจจุบัน