Page 246 -
P. 246
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
228 การตรวจวัดสภาพอากาศและการแปลความหมาย
9.1 หลักการแปลความหมาย
การอธิบายเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดให้เกิดความเข้าใจ จ าเป็นต้องอ้างอิงถึงเวลา
(time) ที่เกิดเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ดังกล่าว และมิติของต าแหน่งหรือพื้นที่ (space) เพื่อทราบ
ว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นอยู่ที่ใด เวลาใด ในการแปลความหมายผลตรวจอุตุนิยมวิทยาก็เช่นกัน ผลตรวจ
อากาศต้องแสดงเวลาและต าแหน่งที่ตรวจไว้เสมอ เพื่อความเข้าใจในสภาวะอากาศขณะนั้น ตรง
นั้น ได้อย่างถูกต้อง
9.1.1 มิติเวลา
องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ก าหนดมาตรฐานเวลาที่เมืองกรีนิช ประเทศ
อังกฤษ เรียกว่า มาตรฐานเวลาเฉลี่ย (Greenwich Mean Time, GMT) หรือมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า Zulu
(Z) เป็นเวลามาตรฐานและก าหนดบริเวณนี้เป็นเส้นแวง (Longitude) โดยก าหนดให้เวลาที่เมือง
กรีนิชที่ศูนย์องศา เวลา GMT เมื่อเทียบกับเวลามาตรฐานของประเทศไทยช้าเร็วกว่าเวลา
มาตรฐานที่ประเทศอังกฤษ 7 ชั่วโมง เช่น เวลา 00.00 GMT ณ. ประเทศอังกฤษเป็นเวลา 07.00
นาฬิกา ของประเทศไทย
9.1.2 มิติต าแหน่งหรือพื้นที่
การก าหนดต าแหน่งพื้นที่นิยมใช้จุดตัดของเส้นสมมุติที่ตัดกันบนผิวโลกทางทิศ
เหนือ ทิศใต้ ก าหนดเป็นเส้นรุ้ง (Latitude) ก าหนดตรงกลางเป็นเส้นรุ้งที่ 0 องศา หรือเส้นศูนย์สูตร
และขึ้นไปทางทิศเหนือถึงเส้นที่ 90 องศาเหนือหรือลงมาทางใต้ถึงเส้นที่ 90 องศาใต้ ทางทิศ
ตะวันออกและตะวันตกก าหนดเป็นเส้นแวง (Longitude) โดยให้เส้นแวงที่อยู่บริเวณเมืองกรีนิช
ประเทศอังกฤษเป็นเส้นแวงที่ 0 องศา และก าหนดให้มีเส้นแวงไปทางทิศตะวันออก 180 เส้น และ
มีเส้นแวงไปทิศตะวันตก 180 เส้นเช่นกันพร้อมทั้งก าหนดให้เส้นแวงที่ 180 องศา เป็นเส้นแบ่งเขต
วันสากล (International Date Line) นอกจากนี้แต่ละต าแหน่งก าหนดความสูงมาตรฐานโดยเทียบ
กับระดับน ้าทะเลปานกลาง (Mean Sea Level : MSL) ตัวอย่างเช่น
เชียงใหม่ เส้นรุ้ง 18 47 ระดับความสูง 312 เมตร MSL
เส้นแวง 98 59
ขอนแก่น เส้นรุ้ง 16 26 ระดับความสูง 165 เมตร MSL
เส้นแวง 102 50
กรุงเทพ เส้นรุ้ง 13 44 ระดับความสูง 2 เมตร MSL
เส้นแวง 100 34