Page 247 -
P. 247
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 229
9.2 ระบบการตรวจอากาศ
มาตรฐานของการตรวจวัดสภาพอากาศขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกก าหนดให้ทุกประเทศ
จัดตั้งข่ายสถานีตรวจอากาศ โดยมีเกณฑ์ว่าสถานีตรวจอากาศบนบกแต่ละสถานีไม่ควรอยู่ห่างกัน
เกินกว่า 150 กิโลเมตร เมื่อรวมสถานีตรวจอากาศของทุกๆ ประเทศเข้าด้วยกันจะได้เครือข่าย
สถานีตรวจอากาศครอบคลุมส่วนของโลกที่เป็นพื้นดิน การตรวจวัดสภาพลมฟ้าอากาศในบริเวณ
ทะเลและมหาสมุทรนั้นอาศัยการตรวจวัดอากาศจากเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่สัญจรไปมาในทะเล
และมหาสมุทร นอกจากนั้นเครื่องบินพาณิชย์ที่บินระหว่างประเทศยังท าหน้าที่ตรวจอากาศชั้นบน
ให้อีกด้วย คาดคะเนว่ามีสถานีตรวจอากาศบนบก 8,000 แห่งสถานีตรวจอากาศทะเลจากเรือ
4,000 ล า และเครื่องบิน 2,000 ล า ท าการตรวจสภาพอากาศประจ าวัน ส าหรับประเทศไทยมีสถานี
ตรวจอากาศบนบก 50 แห่ง นอกจากนั้นในบริเวณที่เป็นป่าดงดิบ หรือในมหาสมุทรที่ไม่มีการ
สัญจรอากาศให้โคจรผ่านภูมิภาคนั้นๆ เป็นประจ า ดาวเทียมจะถ่ายภาพเมฆแล้วส่งมายังสถานีบน
พื้นดินท าให้สามารถวิเคราะห์ลมฟ้าอากาศให้เป็นบริเวณกว้าง
เนื่องจากกระแสลมและการเคลื่อนตัวของระบบลมฟ้ าอากาศเคลื่อนที่ผ่านเขตแดนของ
ประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้ ดังนั้นแต่ละประเทศย่อมต้องอาศัยผลการตรวจอากาศจาก
ประเทศใกล้เคียงเพื่อการพยากรณ์อากาศ งานอุตุนิยมวิทยาจึงเป็นงานที่ต้องการความร่วมมือ
ระหว่างประเทศต่างๆ อย่างใกล้ชิด ประเทศต่างๆ จึงร่วมมือจัดตั้งองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกขึ้น
เพื่อวางมาตรการและประสานงานในด้านอุตุนิยมวิทยาสาขาต่างๆ โดยใกล้ชิด
9.2.1 แบบการเขียนลงสถานีและเลขรหัส (Station Model and Code)
เมื่อต้องการรายงานการตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศจะรายงานสภาพอากาศ
ออกไปทั่วโลกในลักษณะเป็นตัวเลข (ภาพที่ 9.1 และตารางที่ 9.1) ดังนี้
iii Nddff WwwwW PPPTT N C h C C TdTd app 7RRR2
L
h
H
M
t
405 83220 12716 24716 6 7 2 9 2 1 4 228 74542
รูปแบบสัญลักษณ์ที่ใช้ใน รูปแบบสัญลักษณ์ที่ใช้ใน
สถานีตรวจอากาศ การรายงานสภาพอากาศ
ภาพที่ 9.1 สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ในสถานีตรวจอากาศและการรายงานสภาพอากาศ
ที่มา : ดัดแปลงจาก Lutgens and Tarbuck (1982)