Page 150 -
P. 150
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
132 ความชื้นและเสถียรภาพของอากาศ
การลดอุณหภูมิตามความสูง
ส่วนยอดของอากาศที่
เคลื่อนที่แบบอลวน
อัตราการลดอุณหภูมิตามความสูงก่อนการเคลื่อนที่แบบอลวน
อัตราการลดอุณหภูมิตามความสูงหลังการเคลื่อนที่แบบอลวน
ภาพที่ 5.17 การเกิดสภาวะอุณหภูมิเพิ่มขึ้นตามความสูง
จากภาพที่ 5.17 เส้น AE เป็นอัตราการลดอุณหภูมิตามความสูงของอากาศที่ตรวจ
ได้ก่อนที่จะมีการเคลื่อนที่แบบอลวน ต่อมาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงเป็นเส้น DC ซึ่งมีสภาวะ
อากาศที่มีอัตราการลดอุณหภูมิตามความสูงแบบอะเดียแบติกหรือใกล้เคียงกับอะเดียแบติก
อากาศเหนือจุด C จะไม่ได้รับอิทธิพลจากการเคลื่อนที่แบบอลวน กล่าวคือ จะยังคงรักษาอัตรา
การลดอุณหภูมิไปตามเส้น DE ดังนั้นจาก C ถึง D จะเป็นช่วงที่อุณหภูมิเพิ่มค่าขึ้นตามความสูง
สภาวะอุณหภูมิเพิ่มค่าขึ้นตามความสูงอาจเกิดขึ้นจากการจมตัวลงของอากาศเบื้อง
บน กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศเย็นที่มีความดันอากาศสูงครอบคลุมบริเวณไพศาล เนื่องจากมวล
อากาศเย็นมีความชื้นต ่าจึงหนักและจมตัวลง แต่จมลงเพียงระดับยอดของอากาศที่เคลื่อนที่อย่าง
อลวน เพราะอัตราการลดอุณหภูมิตามความสูงของอากาศมากกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
ของมวลอากาศเย็น ดังนั้นถ้าเกิดช่วงที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นตามความสูงในระดับต ่าติดพื้นดินจะเกิด
หมอกผิวพื้น (ground fog)และบางครั้งมีควัน (smoke) ปนด้วย จะเกิดขึ้นได้ในคืนที่มีอากาศ
แจ่มใส โดยการคายความร้อนจากพื้นดินออกไปสู่อากาศ การเกิดสภาวะอุณหภูมิเพิ่มขึ้นตาม
ความสูงมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาเช้า และในช่วงปลายฤดูหนาวประมาณเดือนมกราคมถึงเดือน
กุมภาพันธ์ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นประมาณหนึ่งถึงสองวัน