Page 155 -
P. 155
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 137
การกระจายอนุภาคแขวนลอยในบรรยากาศ (m 2 cm -3 )
เถ้าจากไฟป่า
พายุฝุ่น
สันดาปสมบูรณ์ เถ้าลอย
เฮอริเคน ความแรงขึ้นความสูงลดลง
จากทะเล
ระยะทางแผ่กระจายเพิ่มขึ้น
อินโซเลชั่นเพิ่มขึ้น
ขนาดอนุภาค (m)
ภาพที่ 6.2 การจ าแนกขนาดและการกระจายของอนุภาคแขวนลอยในบรรยากาศที่กระจายขึ้นไป
ตามความสูงต่างๆ ด้วยกระแสอากาศ และระยะจากต้นก าเนิดและจากความร้อนที่ผิว
ดิน
ที่มา : ดัดแปลงจาก Rogers (1985)
6.1.3 อนุภาคแกนควบแน่นของเมฆและการเกิดหยดน ้าในเมฆ
การระเหยน ้าในภาชนะปิดจนไอน ้าอิ่มตัวและเกิดการควบแน่นของไอน ้าอิ่มตัวใน
ภาชนะปิดเป็นการปรับสภาวะให้เกิดความสมดุลระหว่างการระเหยน ้ากับการควบแน่นของไอน ้า
แต่ในธรรมชาติของการควบแน่นของไอน ้าเป็นหยดน ้าขนาดเล็กที่เกิดขึ้นในบรรยากาศซึ่งเป็น
ระบบเปิดจะมีการคายความร้อนแฝงอย่างอิสระจึงมักไม่เกิดสภาพสมดุลดังกล่าว อนึ่งในสภาวะ
ปกติไอน ้าที่ไม่มีสารอื่นเจือปนจะควบแน่นเป็นหยดน ้าได้ เมื่ออากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูงมากถึง
ประมาณ 400 เปอร์เซ็นต์ เพราะหยดน ้ามีขนาดเล็กและมีลักษณะเกือบเป็นทรงกลม มีพื้นที่
ผิวสัมผัสมาก พลังงานสุทธิของดวงอาทิตย์และโลกจะสามารถกระตุ้นโมเลกุลของน ้าให้ระเหยออก
จากผิวน ้าเป็นไอน ้าได้ง่าย ดังนั้นการควบแน่นของอากาศชื้นเป็นหยดน ้าจึงต้องการความชื้นสูง
กว่า 100 เปอร์เซ็นต์ หรือเรียกว่า ระดับอิ่มตัวยิ่งยวด (supersaturation) ระดับอิ่มตัวยิ่งยวดของน ้า
บริสุทธิ์อาจมีค่าถึง 400 เปอร์เซ็นต์อิทธิพลแบบนี้เรียกว่า อิทธิพลของความโค้ง (curvature effect)
แต่ในบรรยากาศมักมีอนุภาคแขวนลอยเจือปนอยู่ อนุภาคขนาดเล็กที่แขวนลอยอยู่ในบรรยากาศ
เหล่านี้ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะของไอน ้าซึ่งเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงสถานะบนผิวของอนุภาค