Page 147 -
P. 147
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 129
, 1 000 k p
จะได้ T = T . . . (5.28)
p
p
เมื่อ k = ค่าคงที่
p
จากสมการที่ (5.28) เขียนการเปลี่ยนแปลงของ T ต่อความสูง (ที่ 1,000 มิลลิบาร์) ได้ดังนี้
p
1 T p = 1 T k P = (DALR – ELR) . . . (5.29)
1
T z T z z T
p
เมื่อพิจารณาร่วมกับสมการอุทกศาสตร์สถิตย์ (hydrostatic equation) และสมการ
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความสูงของอากาศแห้ง สามารถแบ่งเกณฑ์เสถียรภาพได้ดังนี้
T
p 0 อากาศมีเสถียรภาพ (stable)
z
T
p = 0 อากาศเป็นกลาง (neutral)
z
T
p 0 อากาศไม่เสถียรภาพ (unstable)
z
การพิจารณาเสถียรภาพของอากาศจากควันไฟที่ลอยไปตามกระแสลม
เสถียรภาพของอากาศสามารถพิจารณาได้จากการแผ่กระจายของควันไฟที่ลอยไป
ตามกระแสลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งควันไฟจากปล่องควัน ทั้งนี้พิจารณาจากอากาศที่ออกมาจาก
ปล่องควันเป็นอากาศแห้ง จึงมีการลดอุณหภูมิตามความสูงแบบอะเดียแบติกแห้ง เมื่อต้องการ
ทราบสภาวะเสถียรภาพของอากาศโดยรอบอากาศร้อนที่ปล่อยออกมาจากปล่องควันและลอยไป
ตามกระแสลมจะสังเกตได้จากการแผ่กระจายของอากาศร้อนซึ่งมีการพิจารณาได้ดังนี้
1. สภาวะอากาศเสถียรภาพ (stable condition) เมื่ออากาศมีเสถียรภาพจะสังเกตได้
จากควันไฟจะไม่ลอยขึ้นและไม่จมลง แต่จะแผ่กระจายไปตามลมออกไปในแนวระดับ ทั้งนี้
เนื่องจากอัตราการลดอุณหภูมิตามความสูงของควันไฟสูงกว่าอากาศโดยรอบลักษณะเช่นนี้เรียกว่า
ควันไฟแผ่กระจายรูปพัด (Fanning) ดังแสดงในภาพที่ 5.12