Page 13 -
P. 13

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






               (Quality of Service-QoS)  และความปลอดภัยของขอมูล  รวมถึงการเชื่อมตอกันระหวางเครือขาย  และ
               อุปกรณตาง ๆ ในเครือขายตองเปนแบบไรตะเข็บ (Seamless)


               1.4 แนวคิดพื้นฐานในการออกแบบระบบ


               การสื่อสารไรสายสามารถนําไปประยุกตใชงานไดหลากหลาย ตั้งแตระบบเล็ก ๆ ใชงานสวนตัว เชนการใชงาน
               รีโมทควบคุมโทรทัศน  เครื่องปรับอากาศ  หรือประตูรถยนต  ไปจนกระทั่งระบบเครือขายสาธารณะที่เชื่อมโยง
               การติดตอสื่อสารระหวางประเทศ ลักษณะการประยุกตใชงานและเงื่อนไขความตองการของระบบ เปนสิ่งที่เรา
               จําเปนตองนํามาพิจารณาในการออกแบบ  เชน  รูปแบบของขอมูลซึ่งมีผลตออัตราเร็ว  รูปแบบการสื่อสาร

               (Point-to-point, point-to-multipoint, broadcast)  ซึ่งมีผลตอโครงสรางระบบ  พื้นที่ใชงานซึ่งมีผลตอ
               เงื่อนไขทางกําลังงาน (power requirement) และอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อใหสามารถเลือกใชเทคนิคและ/หรือระบบที่
               มีอยูไดอยางเหมาะสม โดยเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

                     การแบงประเภทของระบบสื่อสารไรสายจะชวยใหการตัดสินใจในการออกแบบระบบเปนไปไดงายขึ้น
               เราอาจแบงกลุมของการสื่อสารไรสายตามเงื่อนไขตาง ๆ ดังตัวอยางตอไปนี้

                   1)  ลักษณะการประยุกตใช วาเปนการสงขอมูลประเภทใด (เสียง ขอความ ไฟล ภาพเคลื่อนไหว) ตองใช

                       งานตามเวลาจริงหรือไม  รูปแบบของขอมูลที่ใชในการสื่อสารนั้นมีผลตออัตราเร็วของขอมูล  ที่เรา
                       จําเปนตองเลือกเทคนิคที่เหมาะสมกับการประยุกตใชงาน   เชนถาเปนการติดตั้งตัวรับรูสําหรับวัด
                       ปริมาณน้ําฝนในพื้นที่เสี่ยงภัย  เราไมจําเปนตองเลือกเทคนิคที่อัตราเร็วสูงมาก  แตควรเลือกวิธีการสง

                       ขอมูลที่ประหยัดพลังงาน  เพื่อใหระบบสามารถใชงานไดนาน  ในขณะที่ถาเปนการสงสัญญาณเสียง
                       และภาพเคลื่อนไหว  เพื่อติดตอสื่อสารกับพื้นที่ประสบภัยพิบัติ  ควรจะตองเปนระบบที่มีแบนดวิดธ
                       และคุณภาพการใหบริการสูง  เพื่อใหการติดตอสื่อสารเปนไปไดอยางตอเนื่อง  ชัดเจน  และตามเวลา
                       จริง เปนตน
                   2)  ระบบสื่อสารไรสาย  การเลือกใชงานระบบไรสายแบบตาง  ๆ  นั้นรองรับรูปแบบการใชงานที่แตกตาง

                       กัน การพัฒนางานประยุกตใชในแตละระบบ จึงตองเปนไปตามมาตรฐานการเชื่อมตอของระบบนั้น ๆ
                       ถาหากมาตรฐานที่มีอยูไมตรงกับความตองการ ก็อาจเลือกใชระบบที่มีรูปแบบการเชื่อมตอของตนเอง
                       แตจะไมสามารถเขากันกับระบบอื่น ๆ ได

                   3)  พื้นที่ครอบคลุม เปนอีกปจจัยหนึ่งในการพิจารณาเลือกใชระบบ หรือเทคนิคสําหรับการสื่อสารไรสาย
                       เชนถาเปนการติดตอภายในรานคา อาจเลือกใช WLAN อยางระบบการสั่งอาหาร ถาเปนการสงขอมูล
                       ในภาวะฉุกเฉิน  เชน  แผนดินไหว  หรือดินถลม  ที่เครือขายระบบสื่อสารพื้นฐานอยางเซลลูลารอาจ
                       ไดรับความเสียหาย  ก็อาจตองพิจารณาใชระบบวิทยุสื่อสาร  หรือ  การสื่อสารผานดาวเทียม  ทั้งสอง

                       ระบบครอบคลุมพื้นที่ในการสื่อสารไมเทากัน


               1.5 มาตรฐานระบบสื่อสารไรสาย

               หัวขอนี้นําเสนอตัวอยางมาตรฐานของระบบสื่อสารไรสายที่ใชงานแพรหลายในปจจุบันคือ    ระบบโทรศัพท
               เซลลูลาร, WLAN, Bluetooth/Zigbee และ WiMAX เพื่อใหเห็นความแตกตางของสถาปตยกรรมโครงสราง
               ของระบบตามลักษณะการประยุกตใชงาน








               หนา 6
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18