Page 10 -
P. 10

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี







                     นอกจากการใชงานเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่องของ Wireless LAN  แลว ยุคทองของการสื่อสารไรสายยัง
               เกิดขึ้นพรอมกับแนวคิดของระบบเซลลูลาร (Cellular  Concept)  ที่ไดเอาชนะขีดจํากัดของการใชงาน
               ระบบสื่อสารไรสายในยุคแรก โดยการแกปญหาดานขนาดพื้นที่ครอบคลุมและแถบความถี่ (spectrum) ที่มีอยู

               อยางจํากัด อยางไรก็ตามจํานวนผูใชที่เพิ่มขึ้นอยางรวดเร็วเกินกวาแถบความถี่ที่มีอยูจะรองรับได ซึ่งเปน
               สาเหตุที่ผลักดันใหเทคโนโลยีของระบบสื่อสารเซลลูลารพัฒนาขึ้นอยางรวดเร็วในชวง 20 ปที่ผานมา จาก
               ระบบโทรศัพทเคลื่อนที่แบบอะนาล็อกในยุคที่ 1 ซึ่งเนนการใหบริการแตเพียงขอมูลเสียงเทานั้น มาเปนระบบ
               ดิจิทัลในยุคที่ 2 ซึ่งสามารถสงภาพและขอความสั้น ๆ (SMS) ดวยประสิทธิภาพการใชความถี่ที่เพิ่มขึ้น ระบบที่

               รูจักอยางแพรหลายก็คือระบบ GSM ที่มีจํานวนผูใชเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง เทคนิคการลดขนาดเซลลลงเรื่อย ๆ
               เพื่อเพิ่มความจุของชองสัญญาณมีขีดจํากัด อีกทั้งมาตรฐานที่แตกตางกันในระบบโทรศัพทมือถือยุคที่สอง
               (GSM/CDMA)  นั้นก็เปนอุปสรรคตอการเปลี่ยนยายเครือขาย (roaming)   ในขณะเดินทาง บวกกับความ
               ตองการใชอินเทอรเน็ตบนโทรศัพทมือถือ เปนสาเหตุของการพัฒนาระบบโทรคมนาคมเคลื่อนที่ในยุคที่ 3  ที่

               เพิ่มประสิทธิภาพการใชแบนดวิดทดวยการใชชองสัญญาณแถบความถี่กวางของระบบ CDMA  ซึ่งสามารถ
               ใหบริการขอมูลมัลติมีเดียดวยความเร็วถึง 2 Mbps อยางไรก็ตามเปาหมายที่จะใหทั่วโลกมีมาตรฐานเดียวกัน
               นั้นไมสําเร็จ  การจะใหสามารถใชโทรศัพทเครื่องเดียวไมวาจะเดินทางไปสวนใดของโลกนั้นจําเปนตองใช

               โทรศัพทที่รองรับการใชงานของหลายมาตรฐานในเครื่องเดียว สําหรับเปาหมายตอไปในยุคที่ 4 นั้นจะเปนการ
               รวมเอาเทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่มีอยูทั้งหมดไวรวมกัน (GSM, WCDMA, Wi-Fi, Bluetooth  และอื่น ๆ)
               เพื่อใหสามารถรองรับบริการไดทุกรูปแบบ และทุกหนทุกแหงทั่วโลก ดวยประสิทธิภาพการใชแบนดวิดธที่
               สูงขึ้นกวาปจจุบัน





















                         รูปที่ 1-2 การเติบโตของจํานวนผูใชเครือขายการสื่อสารไรสาย  (ITU-R PDNR WP8F, 2002)


                     การสื่อสารไรสายอีกรูปแบบหนึ่งที่นาสนใจคือการสื่อสารดาวเทียม (Satellite Communication) ซึ่ง
               สามารถเขาถึงพื้นที่หางไกลที่ระบบสื่อสารอื่น ๆ ไมสามารถเขาถึงเชน แทนขุดเจาะน้ํามันกลางทะเล หรือใน

               บริเวณถิ่นทุรกันดาร แตคาใชจายในการติดตอสื่อสารผานดาวเทียมจะคอนขางแพง มีความหนวงเวลา
               อัตราเร็วในการสื่อสารไมสูงมาก จึงมักใชสําหรับการสื่อสารในยามฉุกเฉินหรือกรณีเฉพาะมากกวา การใชงาน
               ระบบดาวเทียมโดยปกติแลวจะเปนการถายทอดสัญญาณเพื่อความบันเทิง (broadcast  entertainment)

               หรือเปนการศึกษาทางไกลผานดาวเทียม การประยุกตใชดาวเทียมที่แพรหลายกลับพบในระบบสํารวจ
               ระยะไกล (Remote sensing system) ซึ่งติดตั้งเซนเซอรหลายประเภทไวบนดาวเทียมเพื่อประโยชนในการ
               สํารวจทรัพยากรโลก





                                                                                                    หนา 3
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15