Page 26 -
P. 26
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
17
รูปที่ 1.17 ผลของความเปรียบตาง (contrast) ตอการมองเห็นความเขมแสง
ภายในภาพ สีเทากลางภาพของทุกภาพมีระดับความเขมแสงที่เทากันแตมนุษย
จะรับรูสีเทาเดียวกันนี้วามีระดับความเขมแสงที่แตกตางกัน
กระบวนการมองเห็นและรับรูภาพจะเปนไปอยางสลับซับซอนและมีปรากฎการณ
หลักที่เกี่ยวของกับการประมวลผลภาพดังนี้
1. คาความเขมแสงที่เห็น (observed intensity) จะมีการรับรูแบบคาสัมพัทธ ไม
ใชแบบคาจริง นั้นคือ ความเขมแสงที่มนุษยรับรูจะขึ้นอยูกับพื้นหลังและ
องคประกอบอื่นๆภายในภาพ ตัวอยางเชน วงกลมสีเทาในรูปที่ 1.17 จะมีคา
ความเขมแสงเทากันทั้งสามวง แตเมื่อวางอยูบนพื้นหลังที่มีคาความเขมแสง
ตางกัน คือ วางบนสีขาว สีเทาและสีดํา มนุษยจะมองเห็นและรับรูวาวงกลม
ภายในภาพทั้งสามมีระดับความเขมแสงที่แตกตางกัน นอกจากนั้นยังรับรูวา
ภาพทั้งสามมีระดับความคมชัดที่แตกตางกันอีกดวย โดยจะรับรูสีเทาบนพื้น
หลังสีขาววามีสีที่เขมกวาสีเทาเดียวกันเมื่อวางบนพิ้นหลังสีเทาหรือสีดํา
ความสัมพันธระหวางความเขมแสงภายในภาพจะถูกนิยามดวยคาความ
เปรียบตาง (contrast) ซึ่งเปนคาอัตราสวนระหวางคาเฉลี่ยของความสวาง
ของวัตถุที่เราสนใจ (foreground) ตอคาเฉลี่ยของความสวางของพื้นหลัง
(background)