Page 34 -
P. 34
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
14
และการใส่คําสุภาพท้ายคํา คือ “ครับ-ค่ะ” แสดงออกถึงความสุภาพและการให้เกียรติแก่ผู้ฟังที่น่าจะมี
เพียงชาติไทยชาติเดียวที่มีการสื่อสารและการสื่อความหมายในลักษณะนี้
คนไทยคุ้ยเคยกับภาษาสันสกฤตก่อนภาษาบาลี ด้วยภาษาสันสกฤตเข้ามาพร้อมพุทธศาสนา
นิกายมหายาน ตั้งแต่สมัยอาณาจักรน่านเจ้า ประมาณ พ.ศ. 600 ครั้น พ.ศ. 1782 คนไทยยึดสุโขทัยได้ เกิด
ความเลื่อมใสในศาสนาพุทธฝ่ายหินยาน และได้รับอิทธิพลภาษาบาลี หล่อหลอมเข้ามา คนไทยยกย่อง
ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤตเป็นภาษาชั้นสูง ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ สมบูรณ์แบบและแสดงภูมิปัญญา
อันสูงส่ง เพราะเป็นภาษาของพระพุทธศาสนา จึงมีอิทธิพลในภาษาไทย เช่นคําว่า ขันติ ชิวหา ศิลปะ
เกษียณ แพทย์ สิงขร มารดา สีกา เคารพ ฯลฯ เป็นคํามาจากภาษาสันสกฤต ส่วนคําว่า เชษฐา วิทยา
เป็นคําที่มาจากภาษาบาลี เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยด้านภาษา
อีกด้านหนึ่ง (สิทธา พินิจภูวดล. 2537)
1.3 การสื่อสารด้วยคํากลอนอักษรเสนาะ ในวิถีการสื่อสารและการสื่อความหมายอย่างไทย
ทั้งบทประพันธ์แบบร้อยแก้วและแบบร้อยกรอง ซึ่ง บทประพันธ์ร้อยแก้ว เป็นวรรณกรรมเกี่ยวกับ
การบันทึกเรื่องราว ที่ไม่มีการบังคับในเรื่องของฉันทลักษณ์ เช่น หนังสือคําสอนทางศาสนา นิทาน
สอนใจ พงศาวดาร นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร ความเรียงและเอกสารต่าง ๆ เป็นต้น ส่วน บทประพันธ์
ร้อยกรอง เป็นวรรณกรรมที่มีการบังคับในเรื่องของฉันทลักษณ์โดยมีแบบแผนการเขียนเฉพาะ เช่น การ
แต่งบทประพันธ์ประเภท ฉันท์ กาพย์ กลอน โคลง ร่าย ลิลิต และกลบท หรือการแต่งคําคล้องจอง เช่น
เพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมลูก ทําให้ภาษาไทยมีการสร้างคําและมีการใช้คําต่าง ๆ ให้ความเพลิดเพลินเจริญ
ใจผู้รักใคร่ภาษาศาสตร์แห่งไทยได้เป็นอย่างดี
1.4 การสื่อสารด้วยท่าทางในท่วงทีที่สุภาพ อ่อนโยนและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คนไทยแสดงออกถึง
ความเป็นมิตรกับทุกคน มีความเมตตาสงสารและมีชื่อเสียงในการต้อนรับ เช่น การยิ้มแย้มอย่างไทย
จนได้รับสมญานามว่า “ยิ้มสยาม” นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของไทยที่ยากจะหาชาติใดเสมอ
เหมือนได้ ความสุภาพและความมีนํ้าใจเหล่านี้เอง คือ ต้นทุนที่คนไทยทั้งประเทศมีอยู่และมีบทบาท
สําคัญต่อการต้อนรับผู้คนมาเที่ยวเยือนประเทศไทย ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีให้ประเทศไทยขยายตลาด
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืนด้วย
1.5 วัฒนธรรมไทยด้านการศึกษา คนไทยเริ่มฝึกเรียนเขียนอ่านจากที่วัด โดยมีพระสงฆ์เป็น
ครูผู้สอนหนังสือและสอดแทรกศีลและธรรมะ เป็นข้อยึดถือปฏิบัติให้คนเราอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
ไม่เบียดเบียนกัน สอนกิริยามารยาท สอนให้อ่อนน้อมถ่อมตน และยิ้มแย้มแจ่มใส การศึกษาไทยในอดีตมี
การเชื่อมโยงของการสอนเยาวชนแบบร่วมมือกันของ “วัด บ้าน และโรงเรียน” ที่ยังคงมีการนํากลับมาใช้
อยู่จนถึงปัจจุบัน เพราะนับว่าเป็นวิถีแห่งการจัดการศึกษาอย่างไทยที่ดีวิธีหนึ่ง แม้แต่การศึกษาใน
ระดับสูงขึ้นของไทยในสมัยก่อนก็ยังเกิดขึ้นที่วัด คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ ที่รู้จักกันในนาม