Page 35 -
P. 35

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                                                                         15



                   วัดโพธิ์ท่าเตียน ที่มีการสอนและการเผยแพร่วิชาแพทย์แผนไทย ให้คนไทยได้เรียนรู้เพื่อนําไปใช้ใน

                   ชีวิตประจําวันและเพื่อการประกอบวิชาอาชีพและยังคงเป็นศาสตร์ที่มีคุณค่าอยู่กระทั่งทุกวันนี้


                       2. วัฒนธรรมความเป็นอยู่อย่างไทย (Thai Culture of Living) คนไทยมีวิถีความเป็นอยู่

                   ที่รักอิสรภาพ หรือ ความเป็นไทย ไม่ชอบการอยู่ในอํานาจบังคับของผู้อื่น ไม่ชอบการกดขี่ ไม่ชอบการ

                   ควบคุมเข้มงวด หรือให้ผู้อื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวสั่งการในรายละเอียดของการดําเนินชีวิตส่วนตัวและการทํางาน

                   คนไทยเป็นคนที่หยิ่งและรักศักดิ์ศรีของตนเอง  ดังนั้น การบังคับนํ้าใจกันหรือฝ่าฝืนความรู้สึกของกัน
                   และกันถือว่าเป็นสิ่งไม่ควรทํา  แต่ในขณะเดียวกัน คนไทยก็มีนิสัยเอื้ออาทรและมีนํ้าใจ เช่นคํากล่าวที่ว่า

                   “ใครมาถึงเรือนชานให้ต้อนรับ”  ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


                          2.1 การเป็นอยู่แบบครอบครัวขยาย คือ การอยู่อาศัยของคนไทยในสมัยก่อน เมื่อมีการแยกเรือน

                   ก็ยังคงอยู่ในชายคาเดียวกันกับพ่อแม่ หรือ อยู่ในละแวกบ้านเดียวกัน มีการดูแลส่งข้าวปลาอาหารให้แก่

                   กัน มีการสอนสั่งให้เคารพผู้ใหญ่ ให้เกียรติตามฐานะสูงตํ่าของบุคคลที่เกี่ยวข้อง บรรพบุรุษจึงได้รับการ
                   นับถือจากลูกหลานที่ต้องเลี้ยงดูและให้ความเคารพ สิ่งนี้ยังสะท้อนให้เห็นปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้

                   โดยการเรียกขานผู้อื่นด้วยสรรพนามที่แสดงความเคารพตามวัยวุฒิ  เช่น  มีการเรียกขานคําสรรพนามว่า

                   ปู่  ย่า  ตา  ยาย  พี่  ป้า  น้า  อา  น้อง  ลูก  หลาน ตามความเหมาะสมของการให้การนับถือต่อกัน


                          2.2 คนไทยอยู่อย่างพอเพียง อยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน โดยการสร้างความเข้าใจและความร่วมมือ

                   ของ 3 ประสาน คือ “บ้าน วัด และโรงเรียน” เรียกว่า “บวร” เริ่มจากที่บ้าน คือ ครอบครัวไทยต้องอบรม
                   เลี้ยงดูบุตรหลาน ดั่งคํากล่าวที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” ในวิถีไทยมีการดูแลพระพุทธศาสนาและถูก

                   สอนให้แบ่งปัน ทุกเช้าจึงมีการใส่บาตรพระสงฆ์ด้วยข้าวปลาอาหารเป็นการสอนและหล่อหลอมความคิด

                   ลูกหลานในบ้านให้รู้จักการให้ ครั้นถึงเทศกาลงานบุญประเพณีต่าง ๆ ลูกหลานในบ้านจะเคยชินกับการ
                   ไปทําบุญที่วัด ในลักษณะที่ว่า “วัดและบ้านพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน” คนสูงอายุจะเข้าวัดปฏิบัติธรรม

                   และสนทนาธรรมกับพระสงฆ์  ครั้นเมื่อลูกหลานในบ้านเติบโตขึ้นก็จะถูกส่งไปโรงเรียน ซึ่งก่อนนั้น

                   โรงเรียนเริ่มต้นที่วัด

                          2.3 ความเอื้อเฟื้อและความอาทรต่อกัน  ในวิถีความเป็นอยู่อย่างไทยที่พ่อ-แม่ ปู่-ย่า ตา-ยาย ให้

                   ความสําคัญกับการเข้าวัดฟังธรรมะ  การถูกสอนให้มีเมตตา  รักกัน และมีความกรุณาต่อเพื่อนมนุษย์เป็น
                   สิ่งที่ถูกหล่อหลอมมาตั้งแต่เด็ก รวมถึงการที่ผู้ใหญ่ทําบุญ ปล่อยสัตว์ให้เห็นอยู่เนือง ๆ ในวิถีการ

                   ดํารงชีวิตการลงแขกช่วยงานกันและการช่วยงานบุญต่าง ๆ เช่น ช่วยงานบุญบวชนาค  ช่วยงานแต่งงาน

                   และช่วยงานศพ เป็นวัฒนธรรมการเป็นอยู่ที่แสดงออกถึงความเอื้ออาทรต่อกันอย่างเป็นรูปธรรม
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40