Page 161 -
P. 161
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
141
5. ชาแท่ง เป็นการเก็บใบชาในลักษณะการตากแห้งและอัดเป็นแท่ง เพื่อลดพื้นที่การเก็บใบชา
และสะดวกต่อการพกพา ชาแท่งนี้สามารถเก็บได้นาน แต่การผลิตนั้นส าคัญที่การตากให้แห้งสนิท
6. เมี่ยง เป็นการเก็บรักษาใบชาโดยการหมักดองให้ใบชามีรสเปรี้ยว แต่งรสด้วยเกลือ
ใช้เคี้ยวเหมือนหมาก เป็นเอกลักษณ์การบริโภคชาอย่างไทยที่ไม่เหมือนใครในโลก
เทคนิคการปรุงชา หรือ การชงชา
ชาจีน เป็นชากึ่งหมัก ที่ชาวจีนนิยมดื่มน ้าชาแทนน ้า เทคนิคการชงชาที่ส าคัญ คือ การลวกใบชา
ด้วยน ้าเดือดก่อน เทน ้าครั้งแรกทิ้ง แล้วจึงชงน ้าครั้งที่สอง พักไว้ 60 วินาที จึงเสิร์ฟ ไม่นิยมแช่ใบชาทิ้ง
ไว้นาน เพราะจะท าให้ชามีสีเข้ม รสฝาดและขมมากจากสารแทนนินที่ละลายออกมา คนจีนไม่นิยมเติม
น ้าตาล และหรือนมในการดื่มชา
ชาฝรั่ง เป็นชาหมักที่ชาวตะวันตกนิยมบริโภค ส่วนใหญ่บริโภคในลักษณะชาร้อน มีทั้งชาที่
ไม่เติมนม และชาที่เติมนม
- ชาที่ไม่เติมนม มีทั้ง เตรียมจากชาส าเร็จรูป หรือชาถุง ซึ่งสะดวกต่อการบริโภค
คือ เพียงการเติมน ้าร้อนใส่ชาผงส าเร็จรูปหรือถุงชาตามต้องการ แล้วให้ผู้บริโภคปรุงรสเองตามต้องการ
ดังนั้นการจัดเสิร์ฟ จึงควรเสิร์ฟน ้าตาล และ/หรือ มะนาว ให้ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินใจเลือกปรุงรสตาม
ต้องการ
- ชาที่เติมนม มีวิธีท าโดย นิยมต้มน ้าปริมาณน้อยให้เดือดจัด ใส่ถุงชาแล้วปิดฝา
และปิดไฟ ตั้งบนเตาไฟ 2 นาที แล้วเติมนมสดขณะที่ร้อน เทส่วนผสมในถ้วยชา แล้วจัดเสิร์ฟขณะที่ร้อน
ให้ผู้บริโภคปรุงรสตามต้องการ (เสิร์ฟกับน ้าตาล) ชาที่เติมนมนี้ อาจจะใช้ชาผสมส าเร็จรูป (Tea mix) ก็
นับว่าสะดวกดี ทั้งนี้ การต้มชานมของชาวอังกฤษและชาวอินเดียอาจจะใช้นนมสดต้มกับใบชาเลย ซึ่งจะ
ได้ชานมที่มีรสชาติเข้มข้น
ชาไทย การดื่มชาของคนไทยนิยมดื่มเป็น “ชาเย็น” อาจจะเนื่องจากบ้านเราอากาศร้อน การ
บริโภคเครื่องดื่มชาจึงใส่น ้าแข็งบริโภคเป็นชาเย็น หรือ ชานมเย็น ที่ส าคัญ ชาไทยมีการปรุงแต่งกลิ่นที่มี
ความเฉพาะและเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไปรวมถึงชาวต่างชาติ แต่ก็มีข้อเสีย คือ ชาไทยมักจะใส่สีผสม
อาหารปริมาณมาก ชาเย็นในบ้านเราแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ชาเย็นชนิดใส่นม เรียกว่า “ชานม”
และชาเย็นชนิดไม่ใส่นม มี 2 ประเภท คือ ชาด าเย็นและชามะนาว