Page 159 -
P. 159
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
13-38
มาก สมควรน าฟางข้าวและซังข้าวโพดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในท านองเดียวกับประเทศญี่ปุ่น จึงขอให้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาและก าหนดแนวทางการพัฒนาและน า
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาใช้กับฟางข้าวและซังข้าวโพดให้เกิดประโยชน์และมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อไป ทั้งนี้ ใน
ส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ให้ถือว่าเป็นภารกิจพิเศษที่ทางกระทรวงจะต้องเร่งรณรงค์
ด าเนินการให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปเปลี่ยนค่านิยมและความเข้าใจเกี่ยวกับผลร้ายของการเผาท าลาย
วัสดุดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยอาจใช้เงินกองทุนโครงการสิ่งแวดล้อมเพื่อการนี้ต่อไป และโดยที่
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตยาง
วันที่ 30 ธันวาคม 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอการให้
ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยให้กองทุนอ้อยและน้ าตาลทรายกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในวงเงิน 3,900 ล้านบาท เพื่อน าไปเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี
2546/2547 ให้กับชาวไร่อ้อยอีกตันอ้อยละ 53 บาท โดยมีแหล่งที่มาของรายได้ส าหรับน าไปช าระหนี้และ
หลักเกณฑ์ เพื่อเป็นหลักประกันในการช าระหนี้เงินกู้ให้กับ ธ.ก.ส. เพิ่มเติมจากเดิม ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นว่า
การให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยโดยการกู้ยืมเงินจาก ธ.ก.ส. เพื่อน าไปเพิ่มราคาอ้อยนั้น เป็น
การแก้ไขปัญหาแบบตั้งรับ ซึ่งเกิดขึ้นแทบทุกฤดูการผลิต เป็นผลให้กองทุนอ้อยฯ มีหนี้สะสมกับ ธ.ก.ส. แล้ว
รวมมากกว่า 15,000 ล้านบาท สมควรที่จะต้องแก้ไขปัญหาของเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้มีประสิทธิภาพและ
ครบวงจรมากยิ่งขึ้น โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับไปพิจารณาทบทวน และปรับปรุงแนวทางการเพิ่ม
ผลตอบแทนการเพาะปลูกอ้อย ตลอดจนระบบการแบ่งปันผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ าตาล
ทรายทั้งระบบให้เหมาะสมเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ และควรตรวจสอบและ
ควบคุมโควตาน้ าตาล
วันที่ 13 มกราคม 2547 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เสนอโครงการแปลงสวนยางเป็นทุน โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการฯ เพื่อแปลงไม้ยางของ
เกษตรกรที่อยู่ในเขตป่าสงวน และของเจ้าของสวนยางสงเคราะห์เป็นทุน และเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับไม้ยาง และ
อุตสาหกรรมไม้ยางโดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 529,985 ราย ใน 17 จังหวัด พื้นที่สวนยาง 6,947,931 ไร่
แยกเป็นเกษตรกร 43,225 ราย พื้นที่ปลูกยางพาราในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้
รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ 1,002,100ไร่ และเจ้าของสวนยางสงเคราะห์ 486,760 ราย ที่ต้นยางพารามีอายุ
กว่า 15 ปี พื้นที่ 5,945,831 ไร่ โดยเกษตรกรดังกล่าวสามารถเข้าสู่แหล่งทุนได้และสามารถเพิ่มปริมาณไม้ยาง
แปรรูปจากปัจจุบันปีละ 6.91 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 15.67 ล้านลูกบาศก์เมตรได้ในปี พ.ศ. 2553 และให้
ด าเนินการต่อไปได้ โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังที่เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด าเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2546
เรื่อง โครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ ให้ได้ข้อยุติ
และความเห็นของคณะกรรมการอ านวยการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (อปท.) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ ไป